2018.03.28

B2B Marketing

สถานการณ์จริงของการตลาด B2B ในประเทศญี่ปุ่น

จะขอแนะนำสถานการณ์จริงของการตลาด B2B ในประเทศญี่ปุ่นสักเล็กน้อย
ประเทศที่เรียกว่าประเทศญี่ปุ่น หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มีความต้องการพิเศษต่าง ๆ เกิดขึ้นทับซ้อนกัน
เศรษฐกิจสามารถเติบโตได้ในระดับสูง
ดูเหมือนจะเป็นยุคสมัยที่หากผลิตสิ่งของ แล้วนำไปขาย ก็จะมีคนกระโจนเข้าซื้อทันที
ประเทศญี่ปุ่น ดูเหมือนจะเป็นตลาดที่มีเพียงไม่กี่ประเทศในโลก ที่สามารถเติบโตได้โดยไม่ต้องทำการตลาด
อย่างไรก็ตาม จากกระแสโลกาภิวัตน์ของธุรกิจ, เหตุการณ์เลห์แมน ช็อค (Lehman Shock) ในปีค.ศ. 2008, วิวัฒนาการความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของดิจิทัล ทำให้กระบวนการจัดซื้อทั่วโลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง
กล่าวกันว่าเป็นยุคที่ ผู้ใช้ (Users) เข้ามาติดต่อกับฝ่ายขาย ทำให้กระบวนการจัดซื้อเสร็จสิ้นลงแล้ว 60%
เช่นเดียวกับบริษัทญี่ปุ่นหลายแห่งที่เคยเติบโตได้โดยไม่มีการตลาด และบริษัทระดับโลกในต่างประเทศ
ต่างเริ่มตระหนักว่าธุรกิจจะไม่สามารถเอาชนะและอยู่รอดได้ หากไม่ใช้ฟังก์ชั่นที่เรียกว่าการตลาด

ยกตัวอย่างเช่น กิจกรรมหนึ่งที่ขาดไม่ได้ในการตลาด B2B เรียกว่า งานแสดงสินค้า
และเมื่อมีการเปลี่ยนมาใช้คำว่า Lead Gen ในการตลาด B2B ลักษณะของงานแสดงสินค้าก็เริ่มเปลี่ยนไป
ถึงตรงนี้ เป็นการนำสินค้าออกแสดงเพื่อให้ได้มาซึ่งการรับรู้
โดยใช้เป็นสถานที่รวบรวมข้อมูลของลูกค้าที่มีแนวโน้มให้ความสนใจ และลูกค้าเป้าหมาย
ซึ่งแน่นอน ยังมีประเด็นเกี่ยวกับเรื่องนี้อีกมาก

จากเสียงของผู้รับผิดชอบการตลาดโดยตรงบางส่วน
“ในงานแสดงสินค้า ทั้งๆที่ได้กลุ่มเป้าหมายที่อาจเป็นลูกค้ามาถึง 5000 ราย แต่การขายก็ไม่ขยับให้เห็นในทันที”
“เป็นเพราะบริษัทไม่ยอมออกค่านามบัตรต่อหน่วยมากกว่า ●●●● เยน”
“ถึงแม้ท้ายที่สุดจะใส่ไว้ใน MA ก็ตาม แต่ก็กลายเป็นจบลงด้วยการส่งเมล์ขอบคุณที่มาร่วมงาน”

หลังจากนั้น ดูเหมือนจะมีเสียงเช่นนี้ออกจากฝ่ายขายบ้าง
“แม้จะมีการติดต่อใน MQL แล้วก็ตาม แต่ก็ไม่นำไปสู่การเจรจาธุรกิจ “
“แรกเริ่ม Lead มีมากเกินไป ไม่สามารถจัดการได้ทัน”
“ต้องการเฉพาะ Lead ที่รู้แน่ว่าจะซื้อสินค้านี้เท่านั้น”
อาจมีหลายบริษัทที่กำลังกลุ้มใจในเหตุการณ์เดียวกันนี้อยู่ใช่หรือไม่ ?

ผมคิดว่าสิ่งที่สำคัญในการตลาด B2B จะต้องประกอบด้วยล้อทั้งสองข้างของงานอีเวนต์จริง และดิจิทัล
ดังนั้น ข้อมูลและคอนเทนต์ จึงเป็นกุญแจสู่ความสำเร็จ
มีความจำเป็นที่จะต้องรับรู้ใหม่ว่า งานแสดงสินค้าเป็นคอนเทนต์ที่สำคัญ
ทุกท่านครับ การออกงานแสดงสินค้ายังทำได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้อยู่หรือไม่ ?
ความหมายของการให้ได้มาซึ่ง Lead ไม่ใช่จบเพียงเท่านั้น แต่จะเป็นอย่างไรบ้าง หากจะลองออกงานแสดงสินค้าเพื่อมุ่งเน้นไปที่จำนวนในการสร้างโอกาสการเจรจาธุรกิจ, จนถึงการสร้างแบรนด์ ?
คำว่าการตลาด ไม่เพียงแต่จะสร้างเฉพาะจำนวนลูกค้า (Lead) เท่านั้น แต่ควรจะคำนึงถึงฟังก์ชั่นที่สร้างความสำเร็จให้แก่ลูกค้าด้วยใช่หรือไม่?
ยังคงมีบางคนกล่าวเช่นกันว่า หน่วยงานการตลาดของประเทศญี่ปุ่น ไม่สามารถหลุดพ้นออกจากหน่วยงานส่งเสริมกิจกรรมได้
อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารที่เริ่มตระหนักว่าฟังก์ชั่นที่เรียกว่า การตลาด B2B เป็นหนึ่งในกลยุทธ์การบริหารจัดการที่สำคัญมีเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน