2018.05.07

B2B Marketing

ตัวอย่างผลสำเร็จจากการใช้ Advocacy (การโฆษณาชวนเชื่อ) ในงานสัมมนา

งานสัมมนาเป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดในเชิงการตลาดแบบ B2B อันเนื่องมาจากประเด็นความสำคัญ
อยู่ที่สามารถเข้าถึงลูกค้าได้โดยตรงและลูกค้าเข้าร่วมกิจกรรมได้อย่างกระตือรือร้น ดังนั้นเราจึงสามารถที่จะคาดหวังกับยอดขายหรือการพัฒนาความสัมพันธ์กับลูกค้าใหม่ๆ
ที่ได้จากการเข้าร่วมงานได้เป็นอย่างมาก แต่ความเป็นจริงนั้นเป็นเช่นไร ?

เคยได้ยินคำกล่าวของผู้ที่เข้าร่วมสัมมนาหรือไม่ ที่กล่าวว่ายังมองเห็นผลลัพธ์จากงานสัมมนาได้ยากเหมือนที่เคยเป็นหรือไม่ ?

เชื่อว่าหลายท่านคงมีปมเกี่ยวกับงานสัมมนาเป็นแน่แท้

ในงานสัมนาครั้งนี้ เราจะนำเสนอตัวอย่างของบริษัทที่สามารถคลายปมที่เกิดขึ้นในสัมมนาได้

บริษัทนี้เคยเปิดสัมมนาทุกๆปีโดยรองรับแขกประมาณ 1,000 คน ที่เป็นผู้ใช้งาน แต่มีปมประเด็นต่างๆที่ยกมาให้ดูดังต่อไปนี้

· มีผู้เข้าร่วมหน้าเดิมเป็นจำนวนมาก แต่จำนวนผู้เข้าร่วมหน้าใหม่กลับไม่เพิ่มขึ้น (ผู้เข้าร่วมเดิมๆ)

· ใช้สื่อภายนอกบริษัทเพื่อดึงดูดความสนใจให้ได้ผู้เข้าร่วมแต่กลับไม่ได้ผล

· ความพึงพอใจของผู้ร่วมงานอยู่ในระบบสูง แต่ไม่สัมพันธ์กับการเพิ่มจำนวนของผู้เข้าร่วมจากบริษัทเดียวกัน

· ดูเหมือนว่าจะมี “เงื่อนไขการจับคู่” ของผู้ที่เข้าร่วมจากองค์กรเดียวกันของลูกค้า

ดังนั้นพวกเราจึงมุ่งเน้นไปยัง “เงื่อนไขการจับคู่” ภายในบริษัทและได้สร้างระบบให้เข้าร่วมได้มากขึ้นโดยการแนะนำเพื่อนร่วมงานให้กับผู้ที่ลงทะเบียนเข้าร่วม

ผู้ที่เข้าร่วมจะได้รับการแนะนำให้รู้จักกับผู้ที่ไม่เคยเข้าร่วมกิจกรรมเหล่านั้น ผู้ที่ได้รับการแนะนำจะได้รับแคมเปญเฟรนชิพที่มอบเป็นการตอบแทนให้แก่ผู้แนะนำและผู้ได้รับการแนะนำด้วย

เมื่อได้นำฟังก์ชันเฟรนชิพเข้ามาใช้ในระบบการบริหารงานอีเวนท์ของบริษัทของเราแล้ว ทำให้สามารถจัดการเชิงระบบได้เป็นอย่างดี สุดท้ายแล้วจำนวนผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมหน้าใหม่
ที่ได้จากแคมเปญเฟรนชิพนี้มีถึง 200 ท่าน คิดเป็น 20% โดยประมาณของผู้เข้าร่วมงานทั้งหมดและยิ่งไปกว่านั้นในวันนั้นจำนวนผู้ที่มางานจริงๆอยู่ที่ 160 ท่าน คิดเป็น 80 % ของผู้ที่ลงทะเบียน

สรุปผลลัพธ์ คือ สามารถลดค่าใช้จ่ายจากการโฆษณาเพื่อดึงดูดผู้คนให้มางานที่ผ่านมาได้อย่างมากและยิ่งไปกว่านั้น ยังได้กลุ่มคนที่โฆษณาไปไม่ถึงในก่อนหน้า
และได้คนของแผนกใกล้เคียงกันกับผู้แนะนำมาเข้าร่วมอีกด้วยและทำให้ทราบอีกว่าอัตราของคนที่ได้รับการแนะนำมามากขึ้นเมื่อเทียบกับอัตราผู้เข้าร่วมงานทั่วไปแล้ว

ฉะนั้นธุรกิจแบบ B2B เช่นนี้ได้ผลดีจากการบอกปากต่อปากอย่างเกินคาด และแม้แต่ในบรรดาคนเหล่านั้นยังมีแนวโน้มได้ผู้ร่วมงานจากการแนะนำของเพื่อนร่วมงานอีกด้วย

นับว่าเป็นตัวอย่างความสำเร็จจากการใช้ “Advocacy (การโฆษณาชวนเชื่อ) ของผู้ร่วมงาน” อย่างแท้จริง

ผมคิดว่าคุณมีปัญหาในการจัดสัมมนา คิดว่าหลายท่านคงมีปมประเด็นปัญหาจากการจัดงานสัมมนา

จึงอยากให้เห็นความสำคัญกับการตั้งคำถามว่า ทำไมถึงยังได้ผลลัพธ์แบบนั้นอยู่? ขอให้คิดต่อว่าต้องมีสาเหตุเหตุใดจึงเกิดขึ้น
เหมือนอย่างตัวอย่างข้างต้นที่เกิดจากการลองปรับแต่งไอเดียเพียงเล็กน้อย แม้ไม่ต้องเพิ่มต้นทุนอะไรมากมาย ให้เป็นค่าใช้จ่ายก็สามารถได้รับผลลัพธ์อย่างใหญ่หลวงได้

เราได้รวบรวมไว้แล้วว่าหากวางแผนจัดงานสัมมนาแล้วต้องสร้างระบบขึ้นมาโดยใช้มุมมองอย่างไรในเอกสาร “5 ขั้นตอนสำหรับจัดสัมมนาให้ได้ผล” (ภาษาอังกฤษ)
ท่านสามารถดาวน์โหลดได้จากลิงค์ด้านล่างนี้