2019.10.01

Bigbeat LIVE

No Marketing, No Global 【Part-1】

”แนวคิด Go Global เปลี่ยน “วิธีคิด” และ “การกระทำ”

Bigbeat LIVE ถูกจัดขึ้นในกรุงโตเกียว เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2562 หลังจบการอภิปรายเกี่ยวกับการบริหารจัดการ (Administration Session) ที่ Special Stage ก็ได้มีการจัด Global Session ต่อเนื่องทันที โดยในช่วงนี้จะเปิดโอกาสให้ผู้นำในการเข้าสู่ตลาดการค้าต่างประเทศจากแต่ละองค์กรจำนวน 4

ท่านมาพูดคุยร่วมกัน

ในบทความนี้จะขอกล่าวถึงการท้าทายความสามารถของคุณซาคาโมโตะ เคนทาโร่ (Kentaro Sakamoto) ผู้อำนวยการฝ่ายขายและการตลาดประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจากฝ่ายGlobal บริษัท Cybozu, Inc., คุณมาเมดะ ยุสุเกะ(Yusuke Mameda) กรรมการผู้จัดการบริษัท Studist (Thailand) Co., Ltd., คุณยามาโมโตะ ชูเฮ (Shuhei Yamamoto) กรรมการผู้จัดการบริษัท WingArc Singapore Pte. Ltd. และ คุณชาร์ลี (Charlie) ผู้บริหารสูงสุดและกรรมการผู้จัดการบริษัท Bigbeat Bangkok Co., Ltd.

สู่โอกาสในการเปลี่ยนวิธีคิดและการกระทำ

ผู้ที่ขึ้นมากล่าวทักทายในช่วงต้น คือ คุณชาร์ลี จาก Bigbeat Bangkok ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้บรรยายด้วยเช่นกัน

เขาเล่าว่า คำว่า “Global” ซึ่งถูกยกมาเป็นหัวข้อในงานนี้ไม่ได้หมายถึงแค่เพียงการเข้าสู่ตลาดการค้าต่างประเทศของธุรกิจเท่านั้น แต่ยังรวมถึงความคาดหวังที่อยากให้เปลี่ยนวิธีคิดและการกระทำที่ต้องเผชิญหน้าสู่สังคมนานาชาติอีกด้วย

ต่อจากนั้น ผู้ที่มารับหน้าที่เป็นผู้จัดรายการในครั้งนี้ก็คือ คุณฮิบิยะ นาโอทาเคะ (Naotake Hibiya) Project 30 Evangelist ต่อจากช่วงการอภิปรายเกี่ยวกับการบริหารจัดการ เขาได้ใช้ประสบการณ์การเริ่มต้นทำธุรกิจ (Startup) เป็นเวลาร่วม 20 ปี ซึ่งรวมถึงประสบการณ์จาก Sansan มามีส่วนเกี่ยวข้องกับโปรเจคจำนวนมากที่ช่วยสร้างสัมพันธ์เชื่อมโยงเหล่าคนที่ทำงานตามองค์กรและวงการธุรกิจต่าง ๆ นานาเข้าด้วยกันในฐานะ Parallel Worker

เขาได้เริ่มกล่าวนำว่า บ่อยครั้งที่เขาได้รับรู้ถึงคุณค่าที่ไม่เคยสังเกตมาก่อน ผ่านกิจกรรมที่ทำนอกเหนือกรอบขององค์กรและวงการธุรกิจ และได้รับรู้ถึงคุณค่าใหม่ ๆ จากการฝ่าฟันดิ้นรนพร้อมก้าวข้ามกำแพงที่มี และต่อจากนั้นคุณฮิบิยะก็ได้แนะนำผู้บรรยายทั้ง 4 ท่านซึ่งท้าทายความสามารถตัวเองอย่างต่อเนื่องภายในภูมิภาคเอเชีย ภายใต้ Keyword ที่ว่า “Go Global”

บุกเบิกช่องทางการจำหน่ายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย “Partner First”

ท่านแรกที่ก้าวขึ้นมาบนเวทีคือคุณซาคาโมโตะ ซึ่งเข้าทำงานในบริษัทไซโบสึ (Cybozu )ทันทีหลังจบการศึกษาในเดือนเมษายนปี พ.ศ 2562 หลังจากที่เขาเข้าไปรับผิดชอบงานขาย “Kintone” Integration platform แอพพลิเคชั่นที่ใช้ในการปฏิบัติงานโดยมุ่งเน้นไปที่การดำเนินธุรกิจของพาร์ทเนอร์ในประเทศญี่ปุ่นแล้ว เขาได้ย้ายไปรับผิดชอบด้านการดำเนินธุรกิจต่างประเทศตั้งแต่เดือนมกราคมปี พ.ศ. 2561 อย่างไรก็ตาม เราได้ยินมาว่าเขาไม่ได้มีความตั้งใจที่จะไปทำงานในต่างประเทศมาตั้งแต่เริ่มแรก สาเหตุที่เขามาถึงจุดนี้ได้เป็นเพราะเขาคิดถึงลำดับขั้นถัดไปของอาชีพงานของเขา และยื่นคำร้องเพื่อโยกย้ายตำแหน่งนั่นเอง ความประสงค์ในช่วงเริ่มแรกของเขาคืออยากจะทำงานด้านการตลาด แต่ทว่าติดเงื่อนไขที่ว่า “ต้องอยู่ภายในส่วนงานดำเนินธุรกิจเดียวกัน” ด้วยเหตุนั้น จึงยื่นขอว่า “ต่อจากนี้ขอให้เป็นต่างประเทศ” และสมัครเป็นผู้รับผิดชอบ ASEAN แทน สมาชิกในทีมเมื่อเข้ามาอยู่ในสังกัดเมื่อรวมคุณซาคาโมโตะเข้าไปด้วยแล้วมีจำนวนเพียง 3 คนเท่านั้น นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่เริ่มมาจากสภาวะที่มีทรัพยากรจำกัดอย่างยิ่ง เนื่องจากตอนนั้น มีเพียงคุณซาคาโมโตะเท่านั้นที่เป็นเจ้าหน้าที่ประจำ

พื้นที่ที่รับผิดชอบเองก็ไม่ใช่เป็นพื้นที่ที่มีฐานหลัก เช่น อเมริกาหรือจีน อยู่แล้ว แต่เป็นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และในปัจจุบันนี้เขาก็ไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่โดยประจำอยู่ในฐานต่างประเทศ แต่ดำเนินการบุกเบิกช่องทางการขายในแต่ละพื้นที่ที่เขาเดินทางไปปฏิบัติงานแทน กรณีที่มีทรัพยากรน้อย สิ่งที่สามารถทำได้ก็จะถูกจำกัดไปด้วย ไซโบสึจึงเลือกใช้กลยุทธ์ที่เป็นการมุ่งเน้นให้เชี่ยวชาญด้านการขายทางอ้อมแทน คีย์เวิร์ดก็คือ “Partner First”

คุณซาคาโมโตะเผยว่า เนื่องจากสิ่งที่เราสามารถทำได้ด้วยตัวเราเองมีขีดจำกัดอยู่ เขาจึงใช้การหาพาร์ทเนอร์ใหม่ๆ

“เพิ่มคนที่ช่วยทำให้แทน” และ “ให้ช่วยทำให้เยอะ ๆ” ซึ่งก็คือการให้พาร์ทเนอร์นั้นจัดการให้เป็นหลัก มาเป็นแกนสำคัญของกลยุทธ์การดำเนินการ สิ่งที่เขาดำเนินการเพื่อเพิ่มพาร์ทเนอร์ก็คือ “การกระโดดเข้าไปร่วม” และ “การสร้างแฟนเพจ” เป็นหลัก ยกตัวอย่างเช่น ตอนที่บุกเบิกตลาดอินเดีย เขาก็ได้ค้นหาคนรู้จักด้วย Facebook และชวนว่า “ไปดื่มด้วยกันไหมครับ?”ตามรายการเข้าสู่ตลาดขององค์กรสัญชาติญี่ปุ่นของ JETRO ที่ละแห่งเขาทดลองต่าง ๆ นานา ในแต่ละประเทศเพื่อให้ Kintone เป็นที่รู้จัก  อาทิ การทำสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ ขึ้นใหม่ เช่น Pop Socket ของสมาร์ทโฟน ร่มกันแดดที่ใช้ขณะเล่นกอล์ฟ ทำเสื้อคลุมกันฝนออกแจก รวมถึงกระตุ้นให้พาร์ทเนอร์ดำเนินการ

คุณซาคาโมโตะแนะนำกรณีตัวอย่าง เช่น การไปออกร้านตามกิจกรรมท้องถิ่นในฟิลิปปินส์ การร่วมกันดำเนินการกับมหาวิทยาลัยรัฐในประเทศลาว การบุกเบิกตลาดด้วยตัวแทนจำหน่ายลำดับที่สองในเวียดนาม การทำดิจิตัลมาร์เกตติ้งในอินโดนีเซีย เป็นต้น นอกจากนี้ ภายในบริษัทของเขาเองก็ได้นำไปใช้ยังแผนกอื่นเพื่อให้เข้ามามีส่วนร่วมในการทำงานด้วย แม้กระทั่งด้านการเสริมความแข็งแกร่งของทรัพยากร คุณซาคาโมโตะก็ช่างมีความมุ่งมั่นเหลือเกิน และแล้วผลสำเร็จจากการดำเนินการของพาร์ทเนอร์ในแต่ละประเทศก็แสดงให้เห็น ยอดรวมจำนวนบริษัทที่เลือกใช้บริการในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ณ เดือนธันวาคมปี พ.ศ.2562 รวมเป็นจำนวนถึง 400 บริษัท ถึงแม้ส่วนมากจะเป็นองค์กรสัญชาติญี่ปุ่น แต่คุณซาคาโมโตะก็สามารถยืดอกกล่าวได้ว่าจำนวนการรับออเดอร์จากบริษัทในท้องถิ่นของแต่ละพื้นที่ยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ยกตัวอย่างเช่น บริษัทโทรคมนาคมเจ้าใหญ่ในพม่า และกระทรวงในประเทศลาว

ก่อตั้งนิติบุคคลท้องถิ่นและนำเสนอการขายผลิตภัณฑ์และการสนับสนุนทางตรง

ผู้ที่ขึ้นมาบนเวทีในลำดับถัดไปคือคุณมาเมดะ ซึ่งมาประจำเป็นผู้รับผิดชอบนิติบุคคลท้องถิ่นในประเทศไทยของสตาดิสท์ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ.2561 สตาดิสพัฒนาและจำหน่าย “Teachme Biz” ซึ่งเป็นแพลทฟอร์มเพื่อสนับสนุนตั้งแต่การจัดทำ แบ่งปัน จนถึงการควบคุมจัดการการอ่านค้นคว้า SOP(Standard Operating Procedures) และคู่มือประกอบการใช้งานผลิตภัณฑ์ Teachme Biz ซึ่งมีบริษัทเลือกใช้งานมากกว่า 2600 แห่งทั่วโลกอยู่แต่เดิมแล้ว เป็นผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นมาจากการตระหนักถึงปัญหาที่ว่าแม้บริษัทจะจัดทำคู่มือลำดับขั้นตอนการทำงานมาโดยใช้ทั้งเงินและเวลาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ก็ไม่ได้ถูกนำมาใช้เมื่อถึงเวลาดังกล่าว

คุณมาเมดะเข้ามาเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งโดยมีส่วนร่วมในการวางแผนก่อตั้งสตาดิสท์ในปี 2554 โดยเป็นเพื่อนกับคุณฮิบิยะซึ่งเป็นผู้ดำเนินรายการมาตั้งแต่สมัยที่รับผิดชอบงาน PR และการตลาด เป็น CMO Operating Officer ของสตาดิสท์แล้วและให้คุณฮิบิยะสอนสิ่งต่าง ๆ ที่ได้ทำในช่วงแรกที่เริ่ม Sansan มาลงมือปฏิบัติจริงนอกจากนี้เขายังได้นำหนังสือ “ความสามารถในการขายด้วยเว็บไซต์ 75 มาตรการ เพื่อเพิ่มความสามารถในการขายของบริษัทท่านอย่างก้าวกระโดด “มาอ้างอิงโดยแยกเนื้อหาเพื่อดำเนินการจริงออกเป็นข้อ และเรียบเรียงสิ่งที่เหมาะจะนำมาใช้กับบริษัทออกมา คุณมาเมดะหวนย้อนกลับไปนึกถึงช่วงเวลาที่เขาใช้เวลาเพียง 1 เดือนในการดำเนินการเนื้อหาที่มีอยู่ในหนังสือจริงและเริ่มทำ PDCA เป็นวงจรด้วยความรวดเร็ว หลังจากนั้นเขาจึงเริ่มมาประจำที่ไทยตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ.2561 ในช่วงแรก คุณมาเมดะมีความคิดที่จะเน้นไปที่การขายผ่านพาร์ทเนอร์เช่นเดียวกับไซโบสึ หลังจากที่ได้ดำเนินการติดต่อกับองค์กรจำนวนหนึ่ง เขาจึงได้ตัดสินใจที่จะก่อตั้งนิติบุคคลท้องถิ่นเพื่อขยายช่องทางการจำหน่ายและเสริมสร้างการสนับสนุนช่วยเหลือขององค์กรท้องถิ่นขึ้นมาและก่อตั้งบริษัทกิจการร่วมค้าขึ้นมาในพื้นที่ท้องถิ่นตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ.2561 เขาเริ่มขยายกิจการมาจนถึงปัจจุบันโดยตั้งเป้าหมายให้มีจำนวนบริษัทที่ใช้บริการในไทย 200 บริษัทภายในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2563 โดยที่ตัวเขาแตกต่างจากพนักงานที่ได้รับคำสั่งการให้มาประจำตรงที่เข้ามารับตำแหน่งนี้โดยไม่มีกำหนดระยะเวลาดำรงตำแหน่ง

ปัจจุบันจำนวนพนักงานในนิติบุคคลท้องถิ่นที่ไทยมีจำนวน 5 คน แบ่งออกเป็น PR/การตลาด ฝ่ายขาย 2 คน ความสำเร็จของลูกค้า (Customer Success) 2 คน และ ธุรการทั่วไป 1 คน ซึ่งในการก่อตั้งนิติบุคคลท้องถิ่นในไทยมีข้อกำหนดว่าจะต้องจ้างงานคนไทยจำนวน 4 คน ต่อชาวต่างชาติ 1 คน จึงทำให้พนักงานท่านอื่นนอกจากคุณมาเมดะเป็นคนไทยทั้งหมด คุณมาเมดะเล่าว่า ลำบากด้านการว่าจ้างเป็นอย่างมากเนื่องจากพนักงานเปลี่ยนสลับคนอย่างรวดเร็ว ต้องจ้างงานถึง 8 คนในปีเดียว โดยมีพนักงานที่ลาออกไปแล้วถึง 3 คน

ลูกค้าที่เป็นบริษัทท้องถิ่นเองก็เพิ่มมากขึ้น โดยปกติแล้วถ้ากลุ่มเป้าหมายเป็นองค์กรสัญชาติญี่ปุ่นจะใช้วิธีการโฆษณาเชิญชวนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน แต่วิธีดังกล่าวไม่สามารถนำมาใช้ได้กับบริษัทท้องถิ่นในไทย สิ่งที่คุณมาเมดะเลือกดำเนินการเพื่อเข้าหาองค์กรท้องถิ่นคือการเรียบเรียงจัดการปัญหาที่องค์กรท้องถิ่นในไทยมีอยู่แบ่งเป็น 4 ข้อ และสร้างเอกสารเป็นภาษาไทยเพื่อโฆษณาเชิญชวนว่า Teachme Biz สามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้สินค้ายังคงเดิมแต่ข้อความในการโฆษณาเชิญชวนถูกนำมาปรับใช้มีความตรงต่อความต้องการของชาวไทย คุณมาเมดะยืดอกกล่าวได้ว่า การดำเนินการนี้ทำให้เกิดผลสำเร็จ มีองค์กรท้องถิ่นเริ่มเลือกใช้บริการมากขึ้นทีละน้อย  และบริษัทสามารถนำเสนอ เนื้อหากรณีตัวอย่างในตอนนี้ได้แล้ว

ชดเชยทรัพยากรที่ไม่เพียงพอด้วยการทำความเข้าใจลักษณะเฉพาะของตลาด

ผู้บรรยายลำดับที่ 3 คือคุณยามาโมโตะ ในประเทศญี่ปุ่น วิงค์อาร์ค 1st (WingArc1st Inc.) เป็นที่รู้จักด้วย “Dr.Sum” “MotionBoard” จากผลิตภัณฑ์ BI และ “SVF” ซึ่งเป็นแบบฟอร์มอยู่แล้ว แต่จำนวนผู้ขายที่เป็นคู่แข่งมีมากทำให้การเข้าไปยังตลาดต่างประเทศนับเป็นการท้าทายที่ใหญ่หลวงมาก หลังจากเข้าประจำเป็นผู้อำนวยการกิจการในสิงคโปร์เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ.2560 แล้ว คุณยามาโมโตะก็ได้ดำเนินการสร้างเครือข่ายและบุกเบิกพาร์ทเนอร์ใหม่สำหรับจำหน่ายในแต่ละประเทศในอาเซียนโดยมีสิงคโปร์เป็นฐานหลัก หลังจากสำเร็จการศึกษาเขาได้เข้ามาทำงานที่วิงค์อาร์ค 1st และทำงานอยู่ที่บริษัทแม่ที่กรุงโตเกียวเป็นเวลา 2 ปีครึ่ง หลังจากนั้นประจำที่นาโกย่าและโอซาก้ารวมเป็นเวลาประมาณ 8 ปี โดยทำหน้าที่เป็นฝ่ายขายรับผิดชอบลูกค้าที่เป็นบริษัทอุตสาหกรรมการผลิตมาเป็นส่วนใหญ่

การท้าทายความสามารถโดยการเข้าสู่ตลาดต่างประเทศของคุณยามาโมโตะเริ่มขึ้นจากการที่ได้รับคำร้องขอจากผู้จัดการทั่วไปฝ่ายขายว่า “ลองใช้ความรู้ที่มีเกี่ยวกับบริษัทอุตสาหกรรมการผลิตไปทำงานในต่างประเทศดูบ้างไหม?”เขารีบให้คำตอบว่า “ไปครับ” ในทันที และเริ่มรับตำแหน่งที่ต่างประเทศเป็นครั้งแรก แม้ว่าตอนนั้นจะยังไม่มีหนังสือเดินทางและไม่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้เท่าไรนัก เดือนมีนาคม พ.ศ.2562 คุณยามาโมโตะพยายามฝ่าฟันมาด้วยตัวคนเดียวจนกระทั่งมีการเพิ่มช่างฝีมือมา 1 ท่าน แต่ถึงกระนั้นเขาก็ยังสามารถกล่าวได้อย่างหนักแน่นว่า “แม้จะตัวคนเดียวแต่ถ้าสามารถอ่านลักษณะเฉพาะของตลาดที่รับผิดชอบอยู่ได้ขาด เขาก็สามารถดำเนินการได้อย่างเหมาะสม” ด้านการติดต่อสื่อสารกับองค์กรท้องถิ่นที่เป็นกังวลในตอนแรก เขาก็สามารถใช้วิธีพลิกแพลงด้วยการวาดรูปบนกระดาน เป็นต้น และจัดการประชุมได้โดยไม่มีปัญหา คุณยามาโมโตะกล่าวถึงสิ่งที่ตัวเองตระหนักขึ้นได้ว่า “สิ่งที่สำคัญในการประชุมธุรกิจ คือความสามารถในการเลือกวิธีการในการติดต่อสื่อสารที่เหมาะสมกับสถานการณ์ตอนนั้น มากกว่าภาษาเสียอีก”

กลุ่มที่เลือกเป็นกลุ่มเป้าหมายก็คือบริษัทอุตสาหกรรมการผลิตสัญชาติญี่ปุ่นซึ่งอยู่ในภูมิภาคอาเซียน โดยคุณยามาโมโตะทุ่มเทดำเนินการโดยเน้นด้านการบุกเบิกสู่พาร์ทเนอร์เป็นสำคัญ แต่เนื่องจากจำนวนงานที่ฝ่ายขาย 1 คนจะสามารถรองรับได้มีจำนวนจำกัด จึงจำเป็นต้องสร้างสัมพันธ์อันดีกับพาร์ทเนอร์เพื่อชดเชยทรัพยากรที่ไม่เพียงพอ เขากล่าวว่าเหตุผลที่เขาสร้างเว็บไซต์ข้อมูลสำหรับพาร์ทเนอร์เป็นภาษาอังกฤษขึ้นมา นอกจากนี้ เขาได้จับกลุ่มร่วมดำเนินการกับบริษัทซอฟท์แวร์สัญชาติญี่ปุ่น 3 แห่งที่มีกลุ่มลูกค้าเป็นบริษัทอุตสาหกรรมการผลิตเช่นเดียวกัน และประสบความสำเร็จในการจัดทำสัญญาให้ความร่วมมือกันด้วยการค้นหาว่าที่ลูกค้า (Lead)

นอกจากนี้ เขายังคิดที่จะเพิ่มแฟนเพจของวิงค์อาร์ค 1st ด้วยการทำให้องค์กรต่างประเทศสามารถเข้าร่วมการประชุมประจำปีที่จัดขึ้นที่ญี่ปุ่นได้อีกด้วย ยิ่งไปกว่านี้แล้ว สินค้าเองก็ไม่ใช่สิ่งที่ขายได้โดยง่าย คุณยามาโมโตะจึงกล่าวว่าเขากำลังพิจารณาที่จะกระจายไปยังสิ่งที่เหมาะสมกับตลาดต่างประเทศซึ่งเลือกจาก Contents ที่มีและนำเสนอใน “ Data time” ซึ่งเป็น  Owned Media ที่เผยแพร่อยู่ในประเทศญี่ปุ่น และสิ่งที่เพิ่ม Essence ของตลาดในประเทศนั้น ๆ เข้าไปด้วย มาใช้ปีแรกที่มาประจำการ คุณยามาโมโตะทุ่มเทสุดชีวิตในการแก้ไขปัญหาที่มีอยู่ตรงหน้าไปทีละอย่าง วิสัยทัศน์ของ วิงค์อาร์ค 1st ก็คือ “การทำให้โลกมีรอยยิ้มได้ด้วยการนำข้อมูลไปใช้ให้เกิดประโยชน์” นั่นเอง คุณยามาโมโตะกล่าวปิดพาร์ทของเขาด้วยคำว่า “ผมเองก็อยากจะเป็นเช่นนั้นเช่นกัน”

สร้างรากฐานวัฒนธรรม “จงเรียนรู้และลงมือทำด้วยตนเอง(Learn for yourself, Make something)”

ผู้ที่ขึ้นมาบนเวทีลำดับสุดท้ายคือคุณชาร์ลี เขาเติบโตขึ้นมาจนถึงปัจจุบันนี้โดยเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้ง Bigbeat ด้วยการที่ได้พบกับการตลาดและการโฆษณาในสมัยที่ศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัย โดยผ่านประสบการณ์จากร้านตัวแทนงาน    โฆษณาที่เข้าทำงานหลังจากสำเร็จการศึกษา และเมื่อครบรอบการก่อตั้ง 20 ปี เขาก็ได้นึกย้อนหวนมองอดีตจนถึงปัจจุบันขึ้นว่า “แบบนี้ดีแล้วหรือ?”เขากล่าวว่า ในตอนนั้นเขาได้นึกถึงความรู้สึกที่มีตอนก่อตั้งบริษัทขึ้นว่า “อยากจะทำให้บริษัทเป็นบริษัทที่คงอยู่ต่อไปแม้จะผ่านไป 100 ปี”และคิดอยากที่จะส่งไม้ต่อให้กับรุ่นถัดไป อย่างไรก็ตามญี่ปุ่นในตอนนี้เป็นยุคสมัยที่ต้องทำงานต่อไปจนถึงอายุ 70 ปี เขาจึงคิดขึ้นได้ว่า ถ้าจะทำอย่างอื่นต่อ เขาอยากจะทำอะไรที่มีประโยชน์ต่ออนาคตของ Bigbeat จึงดำเนินการก่อตั้งนิติบุคคลท้องถิ่นในกรุงเทพฯ อย่างจริงจังด้วยกำลังของตนเองแทบทั้งหมด

นั่นคือตอนฤดูใบไม้ผลิของปี 2560 ช่วงแรกเขาย้ายเข้าไปอยู่ที่ JETRO 3 เดือน และเริ่มต้นใหม่ด้วยห้องที่มีเพียงโต๊ะตัวเดียว องค์กรก็เป็นเหมือนที่คุณมาเมดะได้กล่าวไว้ เป็นระบบที่มีพนักงาน 3 คนจากการจ้างงานคนไทย 3 คนตามข้อกำหนดทางกฎหมาย โดยเขาได้กำหนดวิสัยทัศน์ของบริษัทเป็น “Give Happiness” เขาได้วางรากฐานของวัฒนธรรมแบบญี่ปุ่น ที่ว่า “จงเรียนรู้และลงมือทำด้วยตนเอง” และมองเป้าหมายในอนาคตว่าจะทำให้เป็นบริษัทที่คนไทยบริหารงานเองแต่การที่จะทำอย่างนั้น เขาก็ต้องพบเจอกับความลำบาก ซึ่งก็คือการที่คนเข้าทำงานและลาออกอย่างรวดเร็วเขาได้ยินมาก่อนหน้านี้แล้วว่า พนักงานเข้างานและลาออกภายในเวลาไม่ถึงปี แต่พอมาพบว่าเป็นเช่นนั้นจริง

ก็ยังคงตกใจพนักงานที่อยู่ด้วยกันตอนเริ่มก่อตั้งไม่เหลือแม้เพียงคนเดียวคุณชาร์ลี หัวเราะและกล่าวว่า “สมาชิกเข้าออกกันมากกว่าวงร๊อคเสียอีก”

แม้จะคิดว่าองค์กรเริ่มเป็นรูปเป็นร่างแล้ว แต่ก็ยังต้องพบกับสภาวะที่สภาพดังกล่าวไม่สามารถคงเอาไว้ได้อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน แต่สิ่งที่คุณชาร์ลี ให้ความสำคัญในฐานะที่เป็นผู้บริหาร ไม่ใช่กำไรที่มีอยู่ตรงหน้า แต่เป็นการสร้างวัฒนธรรมองค์กรแบบที่สมกับที่เป็น Bigbeat Bangkok ต่างหาก คุณชาร์ลีกล่าวเน้นย้ำว่า “วัฒนธรรมกับธรรมเนียมเป็นสิ่งสำคัญ” เนื่องจากว่า เขาไม่มีสิ่งที่จะนำเสนอให้เห็นในรูปแบบของสินค้า จึงคิดว่าเหล่าคนที่ทำงานจะต้องสร้างความสัมพันธ์ที่จะได้รับความเชื่อใจจากลูกค้าให้ได้และสิ่งที่เขาเลือกพัฒนาเพื่อสร้างเป็นหนึ่งในเสาหลักของกิจการที่ไทยคือสิ่งที่เรียกว่า “B-Marketing Service” คุณชาร์ลีอธิบายว่านี่เป็นเครื่องมือที่ใช้สนับสนุนการตลาดแบบ B2B เพื่อทำให้กิจกรรมต่างๆ เช่น งานจัดแสดง มีประสิทธิภาพสูงยิ่งขึ้นแต่ว่ามีเหตุซับซ้อนทำให้ต้องล้มเลิกการเริ่มจำหน่าย Release 1 และ Release 2 ปัจจุบันจึงดำเนินการพัฒนา Release 3 อยู่ คุณชาร์ลีแนะนำว่า สิ่งที่เขาทราบขึ้นจากการทำงานร่วมกับคนไทยคือ พวกเขามีค่านิยมที่ว่า “ความสนุกคือความถูกต้องชอบธรรม” นั่นเอง ซึ่งสิ่งนี้เราได้ทราบว่าเป็นคำพูดของคุณซูซูกิ อะกิโกะ(Ms. Akiko Suzuki) จากบริษัทไซโบสึที่ขึ้นกล่าวบนเวที Bigbeat LIVE ในปีที่แล้ว

และคุณชาร์ลีได้นำคำพูดนี้ไปสะท้อนถ่ายทอดต่อคนไทย และดำเนินงานต่อเนื่องไปโดยยอมรับทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นภายในบริษัทในแง่บวกใน Part-2 เราจะนำเสนอถึง Panel Discussion จากผู้ดำเนินรายการ และผู้ที่ขึ้นบรรยายบนเวทีทั้ง 4 ท่านหัวข้อในการพูดคุยของเราจะเป็น “ความแตกต่างของประเพณีการทำการค้าและสภาพแวดล้อมการดำเนินธุรกิจของญี่ปุ่นกับต่างประเทศ” “ความยากลำบากของการมุ่งสู่ต่างประเทศ” “วิธีการแบบญี่ปุ่นสามารถนำไปใช้ได้หรือไม่” และ “ข้อแนะนำจากประสบการณ์หลายปีที่ผ่านมานี้” เป็นต้น อย่าลืมติดตามกันด้วยนะครับ