2019.10.01

Bigbeat LIVE

No Marketing, No Global 【Part-2】

ความเป็นจริงของการขยายตัวในต่างประเทศโดยการบอกเล่าจากผู้นำที่ได้บุกเบิกตลาดอาเซียน

Global session ที่ได้จัดขึ้นบน Special Stage ของ Bigbeat LIVE มีผู้นำ 4 ท่านที่เคยฟันฝ่าอุปสรรคเพื่อบุกเบิกตลาดในอาเซียนมาอภิปรายกันอย่างดุเดือด อันประกอบไปด้วย คุณเคนทาโร่ ซากาโมโต (Kentaro Sakamoto) จาก Cybozu, Inc.คุณ ยูสุเกะ มาเมดะ (Yusuke Mameda) จาก Studist (Thailand) Co., Ltd.  คุณชูเฮ ยามาโมโตะ (Shuhei Yamamoto )จาก WingArc Singapore Pte.,Ltd. และคุณชาร์ลี(Charlie)จาก Bigbeat Bangkok Co., Ltd. โดยหัวข้อการอภิปราย ได้แก่ “ความแตกต่างของสิ่งแวดล้อมทางธุรกิจและการดำเนินธุรกิจในญี่ปุ่นและต่างประเทศ” “ความยากลำบากในการไปทำงานต่างประเทศ” “ลักษณะการทำงานยังคงสไตล์ญี่ปุ่นในต่างประเทศหรือไม่” “คำแนะนำจากประสบการณ์หลายปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันนี้”

สภาพแวดล้อมทางธุรกิจในต่างประเทศแตกต่างจากญี่ปุ่นอย่างไร?

คุณฮิบิย่า: ถ้าเช่นนั้นเรามาเริ่มต้นเกี่ยวกับสิ่งที่ต้องการทราบเป็นอันดับแรก นั่นก็คือมีเหตุการณ์ใดบ้างที่ทำให้รู้สึกถึงความแตกต่างของสภาพแวดล้อมทางธุรกิจระหว่างการดำเนินธุรกิจในต่างประเทศกับประเทศญี่ปุ่น?

คุณยามาโมโตะ: ก่อนอื่นต้องขอบอกก่อนว่า คุณสามารถอ่านเนื้อหาเกี่ยวกับความแตกต่างของสภาพแวดล้อมทางธุรกิจจากข้อมูลพื้นฐาน โดยการทำความเข้าใจกับข้อมูลต่างๆ เช่น GDP/การเคลื่อนไหวของประชากร / ศาสนา / ภาษา / ความเป็นพรรคคอมมิวนิสต์ / มุมมองทางการเมือง / โครงสร้างทางอุตสาหกรรม / จำนวนบริษัทญี่ปุ่น เป็นต้น จากนั้นจึงมาคาดการณ์ว่าประเทศนั้นๆสามารถยอมรับผลิตภัณฑ์ของบริษัทเราและสามารถจับกลุ่มเป้าหมายได้เพียงใด

คุณชาร์ลี: ตั้งแต่เข้ามารับงานตำแหน่งใหม่นี้ผ่านมาเพียงแค่ 1 ปีครึ่งเท่านั้น ดังนั้นอาจพูดได้จำกัดนะครับ ในช่วงแรกผมเริ่มสับสนเกี่ยวกับธรรมเนียมการชำระเงิน ยกตัวอย่างเช่น ตอนที่ร่วมธุรกิจกับพาร์ทเนอร์ หากเป็นที่ญี่ปุ่นจะจ่ายเงินเต็มจำนวนหลังจากการดำเนินงานเสร็จสมบูรณ์ แต่ในไทยเป็นเรื่องปกติที่ต้องชำระเงินล่วงหน้าก่อน 50% เมื่อได้ทำการตกลงกันและชำระเงินส่วนที่เหลือหลังจากการส่งมอบ ทำให้รู้สึกกังวลว่าเขาจะทำงานให้ในส่วนที่ชำระไปเริ่มแรกได้ไหม ทำให้การควบคุมกระแสเงินสดเป็นเรื่องยาก ยกตัวอย่างเช่น เมื่อการตกลงกันเริ่มขึ้นจะต้องเตรียมเงินสดไว้เพื่อชำระเงิน

คุณฮิบิย่า: ท่านอื่นๆก็ประสบปัญหาแบบเดียวกันไหมครับ?

คุณซากาโมโต: เกี่ยวกับการชำระเงินแบบนี้ผมได้ยินค่อนข้างบ่อยเหมือนกัน เพราะพวกเรามีรูปแบบการค้าขายกับพาร์ทเนอร์ ดังนั้นจะยอมให้เกิดความเสี่ยงโดยตรงไม่ได้ และเคยมีพาร์ทเนอร์ที่เคยทำธุรกิจโดยตรงกับองค์กรท้องถิ่นแล้วไม่ชอบวิธีการแบบนั้นเช่นกัน

คุณฮิบิย่า:  การใช้หลักการควบคุมความเสี่ยงแบบนั้นคงทำได้ยากเหมือนกันนะครับ ดูเหมือนคุณมาเมดะ มีเรื่องอะไรอยากจะพูดเกี่ยวกับความแตกต่างของสภาพแวดล้อมทางธุรกิจและการดำเนินธุรกิจใช่ไหมครับ

คุณมาเมดะ : กรณีของบริษัท สตัดดิสท์ ได้เข้ามาในช่วงที่มีข้อมูลเนื้อหาภาษาไทยอย่างครบครัน ผมรู้สึกได้ว่าหากไม่ดำเนินการหาวิธีที่แตกต่างกับญี่ปุ่นก็จะไม่สามารถคงความเป็นผู้นำที่มีศักยภาพสูงได้ ขณะนี้อยู่ในช่วงพิจารณาช่องทางที่จะนำมาลงหนังสือ “TRACTION 19 ช่องทางในการดึงดูดลูกค้า” ยกตัวอย่าง ในการกำหนดคีย์เวิร์ด สำหรับโฆษณา Google (เดิมคือ Google AdWords) คุณสามารถใช้  “หนังสือแนะนำขั้นตอน” “คู่มือ” ได้ในภาษาญี่ปุ่น แต่หากแทนคำดังกล่าวนั้นด้วยภาษาไทยปรากฏว่าไม่สามารถใช้คีย์เวิร์ดนั้นได้ และยังเคยทดลองใช้แบบฟอร์มสอบถามข้อมูลและได้รับข้อมูลการติดต่อประมาณ 30 ข้อมูลภายใน 3 วัน แต่หลังจากส่งอีเมลไปที่ข้อมูลดังกล่าวก็ไม่มีการตอบกลับเลย

คุณซากาโมโต : หลังจากที่ผมได้ฟังเรื่องนี้ผมนึกถึงตอนที่พาร์ทเนอร์ชาวฟิลิปปินส์ของพวกผมได้ไปทดลองกันมา ตอนแรกคาดว่าจะลดความยุ่งยากให้กับลูกค้าที่กรอกข้อมูล จึงลดข้อบังคับที่ให้กรอกข้อมูลลง แต่แทนที่จะได้ข้อมูลที่อยู่สำหรับการติดต่อ 300 ราย กลับกลายเป็นว่าสิ่งที่เราจะนำเสนอลูกค้าได้เป็นศูนย์ ดังนั้นจึงได้เพิ่มช่องกรอกข้อมูลที่บังคับให้ลงข้อมูลและทดสอบกันอีกครั้ง ผลปรากฏว่าผ่านมา 1 เดือนได้ข้อมูลติดต่อเพียงแค่ 4 รายเท่านั้น และใน 3 รายนั้นเราก็สร้างแผนที่จะไปเยี่ยมแล้ว

การเปลี่ยนงานของพนักงานคือเรื่องปกติ

คุณฮิบิย่า: นอกจากเรื่องความลำบากในการเก็บข้อมูลแล้ว สรุปว่าหากใช้รูปแบบที่ให้กรอกข้อมูลเช่นเดียวกันกับของญี่ปุ่นคงจะใช้ไม่ได้ มีเรื่องอื่นๆที่ลำบากอีกไหมครับ? จากการอธิบายเมื่อสักครู่นี้ดูเหมือนว่าคุณมาเมดะ กับ คุณชาร์ลีได้พูดถึงเรื่องการจ้างงานด้วยใช่ไหมครับ

มาเมดะ: การรับสมัครงานใช้ภาษาอังกฤษ แต่เนื่องจากไม่ใช่ภาษาแม่ของทั้งคู่ทำให้รู้สึกว่าไม่สามารถพูดคุยเชิงลึกได้ โดยพื้นฐานแล้วในเอกสารประวัติส่วนตัวโดยย่อ(Resume)จะเขียนข้อมูลว่า “ทำได้” สำหรับสิ่งที่เคยทำมา ดังนั้นต้องมีการทดสอบกัน หากเป็นญี่ปุ่นคงยากที่จะรับเข้าทำงาน ข้อที่แตกต่างจากญี่ปุ่นคือต้องรับเข้ามาทำงานก่อน จากนั้นดูช่วงทดลองงาน 3 เดือน หากความสามารถไม่เด่นชัดก็สามารถให้ไม่ผ่านงานได้

คุณยามาโมโตะ: การเปลี่ยนงานสำหรับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คงเป็นเรื่องปกติ การทำงาน 3 ปีแล้วออกก็คงไม่ใช่เรื่องแปลกประหลาดอะไร แต่ถ้ามองจากจุดที่ดี คนที่เคยใช้ผลิตภัณฑ์ของพวกเรา ขณะที่เปลี่ยนงานเขาจะเขียนลงในเอกสารประวัติส่วนตัวโดยย่อตนเองว่า “สามารถใช้ MotionBoard WingArc 1st ได้)” ซึ่งตีความได้ว่าเขาช่วยเผยแพร่ผลิตภัณฑ์ของพวกเรา

คุณซากาโมโต: การที่บริษัท Decacorn (เป็นบริษัทร่วมทุนที่ยังไม่เข้าตลาดหุ้น ที่ประเมินว่ามีมูลค่ารวมมากกว่า 1 หมื่นล้านดอลลาร์) สั่งซื้อโปรแกรม Kintone เนื่องมาจากที่พนักงานของพาร์ทเนอร์ในประเทศนั้นแจ้งว่าเมื่อเขาเปลี่ยนงานเขาอยากจะใช้ Kintone ดังนั้นอัตราการเปลี่ยนงานของบุคลากรที่สูงขึ้นก็มีข้อดีเหมือนกัน

คุณฮิบิย่า: อัตราการเปลี่ยนงานของบุคลากรที่สูงขึ้นหมุนเวียนไปในแต่ละที่จะคอยช่วยกระจายข้อมูลไปหลายๆที่ได้ แต่ก็ยังมีคนจำนวนมากที่ยังคงเปลี่ยนงานอยู่สม่ำเสมอใช่ไหมครับ ดังนั้นช่วงที่รีบตัดสินใจรับเข้าทำงานแล้วคงคิดแล้วว่าคนนี้คง “ไม่เป็นไร” แต่ก็ต้องตรวจประวัติหรือเปล่าครับ

มาเมดะ: ในเอกสารประวัติส่วนตัวโดยย่อมีการระบุเกี่ยวกับสถานที่ทำงานก่อนนี้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องตรวจสอบภูมิหลังให้ได้ ผมเคยได้ยินว่ามีคนที่เคยติดยาเสพติดและคนที่ยักยอกใช้เงินของบริษัท ดังนั้นต้องตรวจสอบประวัติอาชญากรรมด้วย

คุณชาร์ลี : การตรวจสอบภูมิหลังถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ อันที่จริงแล้วผมคิดว่าบริษัทจัดหางานที่อยู่ตรงกลางควรทำการตรวจสอบ แต่มีไม่กี่แห่งที่ติดตามอย่างใกล้ชิดขนาดนั้น เพราะฉะนั้นในที่สุดคุณก็ต้องทำด้วยตัวเอง

เราจะเรียนภาษาของถิ่นนั้นๆได้อย่างไร?

คุณฮิบิย่า: ในการจ้างงานด้วยการสื่อสารที่สุภาพหรือเพื่อให้มั่นใจในคุณสมบัติ มาตรการที่จำเป็นคือต้องใช้ภาษาของท้องถิ่นนั้นๆได้ใช่ไหมครับ เราจะมีมาตรการอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องนี้ครับ

คุณมาเมดะ: หลังจากผ่านไป 1 ปีครึ่ง ผมได้ข้อสรุปที่ว่าเราควรศึกษาภาษาของท้องถิ่นนั้นๆครับ ตอนนี้ผมศึกษาภาษาไทย 2 หรือ 3 ครั้ง ต่อสัปดาห์ ในการขายผลิตภัณฑ์ให้กับบริษัทในไทยถ้าหากคุณไม่เข้าใจภาษาไทยคุณจะไม่ทราบถึงสถานการณ์ของการเจราต่อรองธุรกิจและไม่สามารถให้ข้อเสนอแนะไปยังพนักงานได้ ส่งผลให้ไม่สามารถปรับปรุงแก้ไขอะไรได้ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่น่ากลัวอย่างมาก หากต้องตัดสินในสถานการณ์ที่ไม่รู้ภาษาเช่นนี้ ตอนนี้ผมจึงศึกษาภาษาไทยอย่างจริงจัง

คุณฮิบิย่า: แสดงว่าเมื่อก่อนนี้ที่เคยคิดว่าหากได้ภาษาอังกฤษก็คงจะเพียงพอแล้วถูกต้องใช่ไหมครับ ?

คุณมาเมดะ: ถูกต้องครับ หากเป็นผู้บริหารระดับสูงของบริษัทในไทยก็สามารถใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารกันได้ แต่หากเป็นระดับพนักงานทั่วไปคงใช้อังกฤษอยู่ฝ่ายเดียวและอีกฝั่งคงใช้เพียงแค่ภาษาไทย ซึ่งหมายความว่าภาษาไทยเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการสื่อสารกับผู้ใช้ ดังนั้นนอกเหนือจากผลิตภัณฑ์ คำถามที่พบบ่อยและความช่วยเหลือยังได้รับการแปลเป็นภาษาไทย นอกจากนี้เรายังพัฒนาระบบที่สามารถตอบคำถามลูกค้าเป็นภาษาไทยได้ ถึงแม้ว่าขั้นตอนนั้นต้องใช้เวลาอย่างมาก แต่เพื่อตอบสนองต่อลูกค้าปัจจุบันเราต้องดำเนินการลำดับแรกให้เป็นเรื่องสำคัญ

คุณฮิบิย่า: แล้วคุณชาร์ลีคิดอย่างไรกับเรื่องนี้ครับ

คุณชาร์ลี: ภาษาที่ใช้กันภายในบริษัท Bigbeat Bangkok เป็นภาษาอังกฤษ ดังนั้นการพูดภาษาอังกฤษได้จึงเป็นหนึ่งในเกณฑ์ในการว่าจ้างพนักงานในไทย อย่างไรก็ตามผมรู้สึกว่าผมก็ไม่สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้เว้นแต่ผมจะพูดภาษาท้องถิ่นนั้นๆได้ ถึงแม้ว่าผมสามารถอธิบายด้วยภาษาอังกฤษให้พนักงานเข้าใจได้ แต่ก็ไม่มีความอดทนมากพอที่จะทำได้มากขึ้นกว่านี้อีกก้าวหนึ่ง ผมเองก็กำลังศึกษาภาษาไทยอยู่ คนที่สามารถทะลายกำแพงที่มองไม่เห็นได้นั้นมีเพียงคนไทยเท่านั้น ดังนั้นการผลักดันท้ายที่สุดที่ผมได้มอบให้เป็นหน้าที่ของพวกเขา

คุณฮิบิย่า: ดูเหมือนรูปแบบการขายของพาร์ทเนอร์เปลี่ยนแปลงไปใช่ไหมครับ

คุณซากาโมโต: สิ่งที่สำคัญมากกว่าภาษาคือการสรรหาคนที่จะมาเป็นสะพานเชื่อมที่เชื่อถือได้ ยกตัวอย่างเช่น การหาคอนเนคชั่นที่เป็นคนรู้จัก อาจให้แนะนำคนเก่งๆที่เคยไปศึกษาต่อญี่ปุ่นมา เป็นต้น

คุณยามาโมโตะ: ปกติใช้กระดานไวท์บอร์ดอย่างเต็มประสิทธิภาพในการสื่อสารแต่ผมเองไม่ถนัดใช้ภาษาอังกฤษใช้ได้แบบครึ่งๆ กลางๆ จึงกำลังพิจารณาใช้ล่ามด้วย นอกจากนี้ภาษาก็สำคัญแต่ผมคิดว่ามีการสื่อสารกับคนในท้องถิ่นนั้นๆ เช่น ขณะรับประทานอาหารกับคนในท้องถิ่นนั้นๆซึ่งเป็นร้านอาหารข้างทางผมคิดว่ามันมีประสิทธิภาพสำหรับการสร้างความสัมพันธ์ที่ไว้วางใจ

การเรียนรู้จากต้นแบบ

คุณฮิบิย่า: จากที่คุณยามาโมโตะได้อธิบายว่าให้หาต้นแบบด้วย แล้วเราจะหาต้นแบบอย่างไรครับ สามารถอ้างอิงถึงกรณีของบริษัทอื่นได้หรือไม่ครับ

คุณยามาโมโตะ: จากการแลกเปลี่ยนข้อมูลภายในอุตสาหกรรมเดียวกัน เราก็ได้พบและพูดคุยกับผู้บุกเบิกที่มีประสบการณ์มากมายในธุรกิจต่างประเทศซึ่งทำหน้าที่เป็นต้นแบบและได้รับการบอกเล่าเกี่ยวกับความพยายามและความยากลำบากต่างๆ ในกรณีของวิงอาร์คเดอะเฟิร์ส (WingArc 1st) มีบริษัทที่บริษัทพาร์ทเนอร์ในประเทศ 500 บริษัท แต่ในความเป็นจริงแม้ว่าจะมีฐานอยู่ แต่ส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ทำธุรกิจเช่นเดียวกับญี่ปุ่น ด้วยเหตุนี้การฟังเรื่องราวจากหลายมุมสามารถช่วยให้นำมาอ้างอิงและเข้าใจคุณสมบัติ ลักษณะของธุรกิจในต่างประเทศได้

คุณซากาโมโต:  สิ่งที่จะพูดต่อจากนี้ผมขออ้างอิงมาจากเหล่ารุ่นพี่นะครับ โดยท้ายที่สุดเราต้องเชื่อในสัญชาตญาณของ  ตนเอง และเพื่อตรวจสอบบริษัท Cybozu ประสบความสำเร็จจากการจัดสัมมนาที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นองค์กรญี่ปุ่นแต่เมื่อยื่นข้อเสนอให้กับพาร์ทเนอร์ฟิลิปปินส์และอินเดีย กลับถูกปฏิเสธ แต่ถ้าลองมองดูให้ดีจะพบว่าประสบความสำเร็จอย่างใหญ่หลวง

คุณฮิบิย่า: หมายถึงว่าตรวจสอบประวัติภูมิหลังด้วยตนเองใช่ไหมครับ ดูเหมือนว่าคุณมาเมดะจะรวบรวมข้อมูลเก่ง คุณคิดเห็นว่าอย่างไรบ้างครับ

คุณมาเมดะ: ในช่วง 1 ปีครึ่งผมได้เจอผู้คนมากมายแต่ผมยังไม่เคยเจอองค์กรที่ประสบความสำเร็จครั้งใหญ่ที่เป็นองค์กรญี่ปุ่นที่ใช้คลาวด์ BtoB เหมือนกันซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมากในการติดต่อบริษัทในไทย ผมคิดว่าต้องลงมือทำด้วยตัวเองดังนั้นจึงลองผิดลองถูก ปัจจุบัน 80% ของทรัพยากรของผมได้รับการจัดสรรให้กับความสำเร็จของลูกค้า และทรัพยากรจากสมาชิกคนอื่น ๆ ก็ถูกใช้เพื่อเยี่ยมลูกค้าที่ไหนสักแห่งเกือบทุกสัปดาห์ และให้การช่วยเหลือคอยแก้ปัญหาให้กับที่บริษัททุกวิถีทาง เมื่อเราทำเช่นนี้แล้วนั้นไม่ได้หมายถึงจะไม่สิ้นสุดการแนะนำเครื่องมือ เราต้องติดตามไปจนถึงเกิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมขององค์กรด้วย

คุณฮิบิย่า: หมายความว่าไม่ใช่ให้เลียนแบบแต่เป็นการสร้างความเติบโตให้กับผลิตภัณฑ์อย่างมั่นคงไปพร้อมๆกับการลองผิดลองถูกใช่ไหมครับ

คุณมาเมดะ: ใช่ครับซึ่งในที่สุดถ้าไม่ลองด้วยตัวเองก็ไม่มีทางรู้ แล้วก็ธุรกิจแบบ B2B มีจุดสำคัญใหญ่ๆอยู่ตรงที่มันเป็นสิ่งที่พูดกันปากต่อปาก ดังนั้นเราจึงโฟกัสไปที่การเพิ่มความพึงพอใจให้กับลูกค้าในขณะนี้

คุณซากาโมโต: กรณีของ Cybozu คงเอาวิธีโปรโมทช่วงเริ่มแรกไปใช้  เพราะในช่วงนั้นเราได้ทำอะไรหลากหลายอย่างโดยใช้วิธี “Madate nambo” (คือการโฆษณาให้เห็นเด่นชัด เช่น ทำป้ายโฆษณาแบบ 3 มิติ เพื่อดึงดูดลูกค้า เป็นต้น)  เพื่อให้รู้ถึง Awareness  เช่นเดียวกัน เราจึงอยากทำแบบนี้ในประเทศกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยโดยให้จำป้ายบริษัทได้ว่าเป็น ป้ายบริษัทที่มีสัญลักษณ์สีเหลือง

หากจะไปต่างประเทศ “รีบๆไปเลย”

คุณฮิบิย่า: ที่ถามมาว่า “เอาการตลาดแบบญี่ปุ่นไปใช้กับที่อื่นได้เลยไหม” และจากการฟังสนทนาที่ผ่านมา ได้คำตอบชัดเจนแล้วว่า No สินะครับ  สุดท้ายนี้มีอะไรอยากจะบอกกับท่านที่อยากไปท้าทายกับการทำธุรกิจในต่างประเทศไหมครับ

คุณมาเมดะ : ผมขออวยพรแค่ว่า “พยายามเข้านะ”  หากนำสิ่งที่เคยทำในญี่ปุ่นไปใช้กับที่อื่นคงไม่ประสบความสำเร็จ  แถมยังใช้ทรัพยากรญี่ปุ่นไม่ได้ด้วย  นอกเหนือจากการตลาดแล้ว ในฐานะผู้บริหารยังจำเป็นต้องมีความรู้ด้านบุคลากรและการเงินด้วย แรกเริ่มเดิมทีไม่มีความตั้งใจที่จะไปทำธุรกิจในต่างประเทศแต่เพียงแค่เคยมีคนมาถามว่า “สนใจไหม ?” หลังจากนั้นพอได้ไป คิดว่าไม่เสียใจเลยที่ตัดสินใจว่าจะไปแบบทันควันแบบนั้น ตอนนี้ผมก็ยังสนุกกับมันอยู่

คุณชาร์ลี : สำหรับผมคงไม่ถึงกับเป็นคำอวยพรอะไรหรอกนะครับ  ผมขอแนะนำ  4 อย่างที่ได้เรียนรู้มาภายใน 1 ปีครึ่ง ดังต่อไปนี้ อย่างที่หนึ่งคือให้อาศัยอยู่ในเมืองไทย อย่างที่ 2 คือให้เรียนภาษาของประเทศนั้นๆ อย่างที่ 3 คือให้เรียนประวัติศาสตร์ของประเทศนั้นๆและสุดท้ายให้จำไว้ว่าประสบการณ์ที่เคยประสบความสำเร็จที่ผ่านมาไม่มีประโยชน์อะไร

คุณยามาโมโตะ: ผมรู้สึกเหมือนกับสำนวนที่ว่า “สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น”  เพราะยอดขายในประเทศจากการทุ่มเทกันมาทำได้ดีทีเดียว ดังนั้นผมคิดว่าการนำเอาวิธีของญี่ปุ่นไปใช้ได้จากที่คิดว่าจะไม่ได้ผมเข้าใจผิดมาตลอด  ต่อจากนี้ไปคงต้องถามความคิดเห็นต่างๆจากผู้ที่กำลังจะท้าทายกับสิ่งนี้ อยากให้ทุกคนคิดเหมือนว่าตัวเองได้เข้าไปอยู่ตรงนั้น เราจะทำให้ธุรกิจเราอยู่รอดได้ถึงเพียงใด ถ้าเกิดผิดพลาดขึ้นมาก็ถือว่าเป็นเรื่องปกติและถ้าเราผิดพลาดแล้วก็ต้องปรับเปลี่ยนวิธีใหม่ในทันที  ถ้าทำได้จะเข้าใกล้ความสำเร็จมากขึ้น

คุณซากาโมโต : เรื่องต่อไปนี้ที่จะบอกไม่แน่ใจว่าเป็นคำแนะนำได้หรือเปล่านะครับ  จะบอกว่าสำหรับวงการ IT แล้วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นตลาดที่ดูมีเสน่ห์เลยทีเดียว  ผมเองก็ไม่ค่อยได้ภาษาอังกฤษแต่ก็พยายามเท่าที่ทำได้อยู่ เลยแนะนำว่าถ้าอยากทำก็ให้ลองทำดู

คุณชาร์ลี: ที่ผมบอกตั้งแต่แรกๆว่า “ให้ลองทำดู” เพราะผมคิดว่าท่านที่มาที่นี่มากกว่าครึ่งหนึ่งสัมผัสได้ถึงความจำเป็นในการลงทุนต่างประเทศอยู่แล้ว ผมเลยแนะนำไปแบบนั้น ก็เหมือนกับคุณวางแผนไปหาหมอฟัน ถ้าหากคุณมีแผนที่จะไปหาหมออยู่แล้วผลัดวันประกันพรุ่งอยากบอกว่า “ให้รีบไปเร็วๆดีกว่า”

คุณฮิบิย่า : หลังจากที่ผมฟัง 4 ท่านนี้เล่ามาแล้วนั้น ทำให้รู้ได้เลยว่าทุกท่านล้วนเป็นผู้ที่มีภูมิคุ้มกันสูงต่อความเปลี่ยนแปลง ต่อความแตกต่างและต่อสิ่งที่ยังไม่รู้และผมรู้สึกว่าตอนที่กำลังจะท้าทายเรื่องใหม่ๆให้คิดไว้ก่อนเลยว่าอาจเกิดการผิดพลาดและต้องเตรียมตัวไว้ว่าจะถอนตัวหรือไม่  ขอบคุณครับสำหรับสิ่งที่แชร์กันมา