2019.11.14

Case Study

CEBIT ASEAN Thailand & JAPAN RECOMMEND IT

CEBIT ASEAN Thailand & JAPAN RECOMMEND IT
“การตลาดที่ทุกคนมีส่วนร่วม กับการใช้ประโยชน์จาก ICT และความท้าทายของธุรกิจการเกษตรที่มีพนักงานเพียง 15 คน”
NK AGRI บริษัทอาหารผู้ถือกำเนิดจากการเป็นผู้ผลิตเครื่องล้างฟิล์ม

ปัจจุบันมีการเพาะเลี้ยงผักกาดหอมที่โรงงานผลิตพืช (Plant factory) ซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดวากายามะ โดยทั่วไปแล้วการเพาะเลี้ยงพืชในโรงงานจะใช้แสงไฟ เช่น LED ในการควบคุมทั้งในช่วงกลางวันและกลางคืน แต่ NK AGRI เลือกใช้ประโยชน์สูงสุดจากพลังงานธรรมชาติ ด้วยการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ 100% ในการเพาะปลูกพืช ไม่มีการใช้ยาฆ่าแมลงในการเกษตร และมีพนักงานเพียงแค่ 15 คน คุณยามาคาว่าเดิมเคยทำงานประชาสัมพันธ์ที่บริษัท IT ชื่อ Cybozu, Inc.ซึ่งเป็นผู้ผลิตซอฟต์แวร์ แต่ในปี พ.ศ. 2560 ก็ได้เข้ามาทำงานที่ NK AGRI เป็นหน่วยงานในลักษณะจัดการห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain Management) ซึ่งทุกคนจะได้รับการแบ่งสรรงานขาย งานศึกษาวิจัย งานพัฒนาแหล่งผลิต และงานควบคุมการผลิต

คุณยามาคาว่ากล่าวว่า “ บริษัทร่วมทุน (Venture Company) แห่งนี้มีพนักงานเพียง 15 คน ทุกคนจึงต้องขับเคลื่อนไปข้างหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ และแสดงประสิทธิผลออกมาให้ได้มากที่สุด ดังนั้นฝ่ายขายอาจต้องออกไปหาเกษตรกร ผู้ที่ทำหน้าที่พัฒนาแหล่งผลิตก็อาจจะต้องปฏิบัติงานขายด้วย ต่อจากนี้ไปเราจะขอแนะนำว่าวิธีการที่บริษัทอาหารผู้ถือกำเนิดจากการเป็นผู้ผลิตเครื่องล้างฟิล์ม จะสามารถรับมือกับความท้าทายต่อหัวข้อ “ปัญหาเรื่องการเกษตร” ได้อย่างไร โดยมีความมุ่งมั่นที่จะ “จัดหาอาหารเพื่อให้ผู้คนได้สรรสร้างชีวิตที่ดีต่อสุขภาพได้” ด้วยพนักงานเพียงแค่ 15 คน

เมื่อคุณจะซื้อผักกาดหอม คุณใส่ใจเรื่องน้ำหนักของผักกาดหอมหรือไม่ ?

<พิจารณาโครงสร้างในการกำหนดมูลค่า>

 

มีประเด็นปัญหาเรื่องการเกษตรที่ NK AGRI ต้องการแก้ไขอยู่ 3 ประการ ประการแรก คือ ความแตกต่างกันอย่างมากระหว่างระเบียบมาตรฐานการกระจายสินค้าที่มีมาแต่เดิมกับความต้องการของผู้บริโภค ประการที่สอง คือ ความผันแปรของราคาที่เกิดขึ้น อันเนื่องมาจากการเกษตรของแต่ละภูมิภาค ประการที่สาม คือ การพัฒนาเทคโนโลยี   ซึ่งมุ่งไปที่การควบคุมไม่ใช่การคาดการณ์ เรามาพิจารณาดูไปทีละข้อดีกว่า

ประการแรกเกี่ยวกับเรื่องระเบียบมาตรฐานการกระจายสินค้า มูลค่าของพืชคืออะไร? ความจริงที่ว่า “มูลค่าที่พิจารณาโดยการกระจายสินค้า” มีความแตกต่างจากสิ่งที่ผู้บริโภครับรู้ ในฐานะที่เป็นมูลค่าของพืชเป็นเรื่องที่มีอยู่จริงในแวดวงการเกษตร ยกตัวอย่างเช่นในการกระจายสินค้าออกสู่ตลาด หากกล่าวถึงผักกาดหอม น้ำหนักของผักกาดหอมจะเป็นที่ต้องการในฐานะที่เป็นมูลค่า “แต่เมื่อได้ลองมีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าจากการดำเนินการจำหน่ายที่หน้าร้าน จะเห็นว่าลูกค้าก็ไม่ได้ใส่ใจในเรื่องน้ำหนักของผักกาดหอมมากมายนัก” คุณยามาคาว่ากล่าว ในความเป็นจริงตัวฉันเองก็ไม่เคยใส่ใจกับน้ำหนักเมื่อจะซื้อผักกาดหอม คุณยามาคาว่ายังกล่าวต่อไปว่า “เมื่อได้ลองมีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าที่หน้าร้าน ก็ไม่ค่อยได้พบเห็นลูกค้าที่ใส่ใจเรื่องน้ำหนักเท่าไรเลย แม้เป็นเรื่องของความรู้สึก แต่ดูเหมือนลูกค้าที่ซื้อ ซื้อโดยใส่ใจต่อความรู้สึกเมื่อตอนรับประทาน หรือใส่ใจในสารอาหารจะมีมากกว่า” ถ้าจะให้ขยายความก็เช่น ใช้ผักกาดที่มีความหอมและกรุบกรอบในการพันม้วนเนื้อสัตว์ต่าง ๆ หรืออยากนำผักกาดหอมที่นุ่มละมุนลิ้นมาทำเป็นสลัดรับประทาน เหมือนจะมีความจริงอยู่ว่ามูลค่าของพืชที่พิจารณาโดยอุปสงค์และอุปทานมีความแตกต่างกันไปคนละทางเลย นี่เป็นประเด็นปัญหาประการที่หนึ่ง

 

ถัดมาเป็นเรื่องความผันแปรของราคาอันเนื่องมาจากการเกษตรของแต่ละภูมิภาค “แวดวงการเกษตรมีสภาพถูกปิดกั้นในแต่ละภูมิภาค ข้อมูลข่าวสารของภูมิภาคต่างๆไม่ได้ถูกเชื่อมโยงกัน และอยู่ในสภาพที่ไม่สามารถติดตามรับทราบภาพรวมความเป็นไปทั้งหมดแบบเรียลไทม์ได้ เช่น ไม่สามารถติดตามได้ว่าพืชมีการผลิตในปริมาณเท่าไรในภูมิภาคใด” เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วจะเกิดอะไรขึ้นน่ะหรือ ก็จะเกิดปัญหาในลักษณะ “พืชชนิดหนึ่งจู่ ๆ ก็ถูกส่งออกสู่ตลาดในปริมาณมาก จนราคาตก หรือเกิดการขาดแคลนกะทันหัน จนราคาตกฮวบ” ก็จริงอยู่อย่างที่ว่าพวกเราอาจไม่ได้ใส่ใจว่าจริง ๆ แล้วพืชมันก็เป็นแบบนั้นอยู่แล้ว แต่นั่นก็หมายความว่าราคาของพืชได้รับผลกระทบอย่างมากจากปริมาณการส่งออกสู่ตลาด จนไม่สามารถวินิจฉัยได้ด้วยมูลค่าของพืช กล่าวคือในการที่จะกำหนดราคาของพืชด้วยมูลค่าของตัวสินค้านั้น ๆ จริง ๆ แล้วมีความจำเป็นต้องประสานเชื่อมโยงกันเกี่ยวกับปริมาณการผลิตของแต่ละภูมิภาคด้วย

 

และมาถึงประเด็นปัญหาประการที่ 3 เกี่ยวกับเรื่องการพัฒนาเทคโนโลยีโดยมีการควบคุมเป็นหลักสำคัญ “การพัฒนาเทคโนโลยีการเกษตรปัจจุบันมีกระแสอยู่ที่การรวมศูนย์อยู่ที่การควบคุม เช่น การควบคุมการผลิต เป็นต้น ซึ่งสิ่งที่เรียกว่าการควบคุมโดยใช้การควบคุมการผลิตก็หมายถึงมาตรการ (Solution) ที่มีเป้าหมายที่การผลิตในปริมาณคงที่ การส่งออกสู่ตลาดในปริมาณคงที่ กล่าวคือเป็นการพยายามผลิตและส่งออกพืชสู่ตลาดในปริมาณคงที่” แน่นอนอาจคิดกันว่าราคาจะตกฮวบจากปริมาณการส่งออกพืชสู่ตลาด ดังนั้นการสามารถส่งออกสู่ตลาดได้ในปริมาณคงที่ก็น่าจะดีอยู่แล้ว แต่นั่นสามารถกล่าวได้ก็ต่อเมื่ออุปสงค์อยู่ในระดับคงที่แน่นอนด้วยเท่านั้น ผู้คนส่วนใหญ่ไม่ได้รับประทานอาหารประเภทเดียวกันในทุก ๆ วัน คุณยามาคาว่าเองก็ยิ้มเขินปฏิเสธว่า “ฉันเองก็ไม่ได้ทานผักกาดหอมทุกวันหรอกนะคะ ต้องขออภัยด้วยค่ะ” แนวโน้มอาหารการกินก็มีการเปลี่ยนไปตามฤดูกาล อากาศ อุณหภูมิ ความชื้น ฯลฯ

ดังนั้น หากตามไม่ทันความเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์ ในท้ายที่สุดแล้วราคาก็จะได้รับผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ทาง NK AGRI จึงได้เก็บข้อมูลจากการผลิตและการจำหน่ายในอดีตที่ผ่านมาแล้ว นำมาพยากรณ์ ทั้งเน้นในเรื่องการติดต่อปฏิสัมพันธ์โดยอาศัยITของฝ่ายการผลิตและฝ่ายขาย “ในช่วงที่อุปสงค์มีแนวโน้มว่าเพิ่มสูงขึ้น ก็ให้ดำเนินการเพิ่มการผลิตไว้ล่วงหน้า หรือในช่วงที่ผลการเพาะปลูกจะได้ปริมาณน้อยเนื่องจากสภาพดินฟ้าอากาศ ทางฝ่ายขายก็จะดำเนินกิจกรรมงานขายดำเนินการลดปริมาณชั้นวางของร้านรวงที่รับพืชไป ฉันคิดว่าเราควรที่จะพัฒนาเทคโนโลยีในเรื่องการยกระดับความเที่ยงตรงของการพยากรณ์เช่นที่ว่านี้ต่างหาก”

ผู้สร้าง ผู้เพาะ ผู้ขายเมล็ดพันธุ์ให้ความเคารพต่อมูลค่าที่ต่างกัน

<ทบทวนการตัดขาดจากกันของห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain)>

ในฐานะที่เป็นรากเหง้าของประเด็นปัญหาทั้งสามประการนี้ จึงได้เกิดสมมติฐานขึ้นที่ NK AGRI ว่าความเชื่อมโยงระหว่างการผลิต การกระจายสินค้า การค้าปลีก หรือการศึกษาวิจัยและพัฒนายังไม่ประสบความสำเร็จ “กว่าพืชจะถูกผลิตและส่งถึงผู้รับประทาน ก่อนอื่นก็ต้องมีผู้ผลิตต้นกล้าเมล็ดพันธุ์ ตามด้วยการผลิต การกระจายสินค้า แต่แม้ผู้ผลิตต้นกล้าเมล็ดพันธุ์จะคิดว่ามูลค่าอยู่ที่การสร้างเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณค่าสารอาหารสูงก็ตาม แต่เกษตรกรกลับประเมินที่ระดับของผลิตภาพ(Productivity) ในส่วนของการกระจายสินค้าก็ถือว่ารูปลักษณ์ภายนอกที่เห็นต่างหากคือมูลค่า สิ่งเหล่านี้คือความจริงที่เป็นอยู่” ในเมื่อเป็นเช่นนี้จึงไม่มีทางที่จะสื่อไปยังลูกค้าได้ว่าอะไรคือมูลค่าของพืช ดังนั้น สภาพความเป็นจริงก็คือว่าพืชนั้น ๆ ที่หน้าร้าน ได้ถืออะไรเป็นมูลค่า เป็นสินค้าเพื่อใครนั้นเป็นเรื่องที่ยังไม่ถูกทำให้มีความชัดเจน

เราเรียกกระบวนการตั้งแต่การผลิตจนส่งถึงลูกค้าว่า “ห่วงโซอุปทาน” แต่ที่ NK AGRI ได้เรียกสภาวะปัจจุบันของการเกษตรที่ผู้ผลิตต้นกล้าเมล็ดพันธุ์ เกษตรกร และการกระจายสินค้ามีการประเมินมูลค่าแยกต่างหากจากกัน และมุ่งไปคนละทิศละทางเช่นนี้ว่า “การตัดขาดจากกันของห่วงโซอุปทาน เราคิดว่าต้องแก้ไขการตัดขาดจากกันนี้ โดยที่ห่วงโซอุปทาน โดยรวมให้คำนิยามต่อมูลค่าสุงสุดของพืช และพร้อมใจกันสมัครสมานสามัคคีไปจนถึงขั้นส่งพืชไปถึงลูกค้า นี่ต่างหากที่เป็นการตลาด (Marketing) ที่แวดวงการเกษตรควรลงมือทำเป็นลำดับแรก”

หากกล่าวถึง “การตลาด” ก็มักถูกมุ่งเป้าไปที่การสื่อมูลค่าไปยังลูกค้า แต่ในแวดวงการเกษตรมีสภาพความจริงที่ว่า   การสร้างรากฐานการให้คำนิยามต่อมูลค่าดังกล่าวนั้นยังไม่เคยเป็นผลสำเร็จขึ้นมาได้เลย แต่นี่อาจไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นเฉพาะในโลกของการเกษตรเสมอไปเท่านั้น สินค้าโดยส่วนมากก็ไม่ได้มีแค่เพียงบริษัทเดียวดำเนินการเองทั้งหมดทั้งการศึกษาวิจัยและพัฒนา การผลิต หรือการกระจายสินค้า ยิ่งมีคน หรือองค์กรที่มีส่วนเกี่ยวข้องมาขึ้นเท่าไรก็ยิ่งทำให้เกิดความไม่สอดคล้องของการประเมินขึ้นได้ที่ขั้นใดขั้นหนึ่ง จนทำให้การส่งมูลค่าไปยังลูกค้าทำได้ยากยิ่งขึ้น

 

“หากกล่าวในทางตรงข้าม ทาง NK AGRI เห็นว่าหากสามารถนำสิ่งที่ลูกค้ารับรู้ว่าเป็นมูลค่ามาทำให้เป็นสินค้าได้ทั้งอย่างนั้นแล้วนำมาดำเนินการผลิตและกระจายสินค้าไม่ให้มูลค่าดังกล่าวหมดไป แม้เป็นเรื่องการเกษตรก็จะสามารถดำเนินการตลาดได้ตามอุปสงค์ เพื่อการดังกล่าวนั้นจำเป็นที่ผู้อยู่ในตำแหน่งงานทั้งหมด สมาชิกทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับพืชจะต้องมุ่งต่องานโดยมีจิตสำนึกการตลาดอย่างพร้อมเพรียงกัน ที่ว่าจะส่งพืชนี้ให้แก่ลูกค้าที่แสวงหามูลค่าดังกล่าวนี้ ”คุณยามาคาว่าอธิบายอย่างหนักแน่น และกล่าวว่านี่ต่างหากที่เป็นความหมายของ “การตลาดที่ทุกคนมีส่วนร่วม” ซึ่งได้กลายเป็นหัวเรื่องอยู่ด้วย

แครอท “Koikurenai” ที่สามารถเนรมิตรากฐานการตลาดจนกลายเป็นสินค้าได้

<สร้างรากฐานการตลาดสำหรับสินค้า>

แม้ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคนจะมีความพร้อมในเรื่องมูลค่าของพืช แต่หากไม่ทราบว่าผู้บริโภคกำลังแสวงหาสิ่งใด ก็ไม่มีประโยชน์อะไร ได้มีแบบสำรวจเกี่ยวกับความโปรดปรานพืชที่ได้ออกเผยแพร่เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2560   โดย “Hot Pepper Gurume Gaishoku Soken ซึ่งเป็นหน่วยงานการสำรวจที่บริหารโดย Recruit Lifestyle”

ในการสำรวจทางหน้าจออินเตอร์เน็ตที่มีเป้าหมายการสำรวจที่เพศชายและเพศหญิงอายุตั้งแต่ 20 ปีจนถึง 69 ปี  ที่อาศัยอยู่ในเขตปริมณฑล เขตคันไซ และเขตโทไก ซึ่งเป็นการสำรวจเกี่ยวกับพืชที่ได้รับความนิยมในช่วงระยะหลังๆในการนำมาใช้รับประทาน โดยมีเหตุผลให้ตอบดังกล่าวตั้งแต่ 1 ถึง 3 ตามลำดับคือ “เพราะอร่อย เพราะชอบ” “เพราะคิดว่าจำเป็นต่อชีวิตการกินที่ดีต่อสุขภาพ” “เพราะคิดว่ามีคุณค่าสารอาหารสูง” ผลลัพธ์ที่ได้ออกมาเป็นลำดับแรกคือพืชที่มีสารอาหารและดีต่อสุขภาพ ตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น ปรัชญาองค์กรของ NK AGRI คือ “จัดหาอาหารเพื่อให้ผู้คนได้สรรสร้างชีวิตที่ดีต่อสุขภาพได้” นี่จึงสอดคล้องกันพอดี ดังนั้นสิ่งที่ NK AGRI ได้ตั้งสมมติฐานและลงมือดำเนินการคือแครอท “Koikurenai” โดยมีสมมติฐานว่าการสร้างการกระจายสินค้าพืชโดยนำความรับรู้ของผู้บริโภคดังกล่าวนี้มาทำให้เป็นมูลค่าตามนั้นต่างหากที่เป็นเรื่องที่สมควรลงมือดำเนินการเป็นลำดับแรกของการตลาด

“พันธุ์ดั้งเดิมของ Koikurenai มีไลโคปินผสมอยู่มาก จึงไม่มีลักษณะตามธรรมชาติอันเป็นเอกลักษณ์ของแครอทอยู่ ทั้งเป็นแครอทที่มีความแปลกตรงที่มีความหวานระดับรุนแรง พอได้ดำเนินการจำหน่ายโดยให้ลองชิมดูก่อน ก็มีคนซื้อหากันมาก โดยให้เหตุผลว่าเด็กก็กินได้ ถึงเกลียดแครอทแต่แบบนี้ก็กินอร่อย นับเป็นแครอทที่ได้รับเสียงตอบรับสูงมากเกี่ยวกับรสชาติและคุณค่าสารอาหาร แต่ก็มีข้อเสียตรงที่ระหว่างการเจริญเติบโต รูปทรงของมันก็โค้งงอได้ง่าย และเอาชนะการกระจายสินค้าที่เน้นความสำคัญเรื่องรูปลักษณ์ภายนอกได้ยาก ผลลัพธ์ที่ได้คือทั้งที่เป็นแครอทมีมูลค่าสูงในเรื่องรสชาติและคุณค่าสารอาหาร แต่ถึงตอนนี้ก็ยังไม่สามารถให้คนจำนวนมากได้รับประทาน ดังนั้นจึงได้ตัดสินใจสร้างรากฐานการตลาดที่จะทำให้ไลโคปินซึ่งเป็นมูลค่าของ “Koikurenai” อยู่ในระดับสูงสุดและส่งถึงมือลูกค้าอย่างมั่นคง จนได้เริ่มมีการศึกษาวิจัยและพัฒนา และสร้างการกระจายสินค้า” คุณยามาคาว่ากำลังจะเริ่มการปฏิบัติการก่อรากฐานการตลาดเพื่อการจำหน่ายแครอท

“ลำดับแรกคือการทำให้ไลโคปินอยู่ในระดับสูงสุด ผลิตภัณฑ์อาหารสดมีลักษณะเด่นที่คุณค่าสารอาหารจะจะไม่สม่ำเสมอเท่ากันหมด ดังนั้นจึงต้องศึกษาวิจัยว่าจะมองไปที่อะไรจึงจะสามารถพยากรณ์คุณค่าสารอาหารได้      เพื่อการนี้จึงได้ทำการตรวจวัดข้อมูลหลาย ๆ อย่าง เช่น อุณหภูมิ ความชื้น แสงแดด ปริมาณน้ำ เป็นต้น” คุณยามาคาว่าและสมาชิกได้ปฏิบัติงานอย่างมั่นคงโดยการตระเวนหาเกษตรกรทั่วประเทศเพื่อสำรวจอัตราการแตกหน่อ   ขุดแครอทจำนวนมากขึ้นมาในแต่ละขั้นของการเจริญเติบโตเพื่อนำมาตรวจวัดน้ำหนัก และความยาว เพื่อเก็บรักษาข้อมูลอันทรงคุณค่า เพื่อให้การพัฒนาระบบการพยากรณ์ช่วงเวลาเก็บเกี่ยวที่จะทำให้ได้ไลโคปินมีส่วนผสมอยู่มากที่สุดประสบความสำเร็จเป็นจริงขึ้นมาได้

“ตามที่ได้กล่าวไป NK AGRI เป็นVenture Company” ที่มีพนักงานเพียง 15 คน ไม่ใช่ว่าจะสามารถศึกษาวิจัยแบบนี้ได้ด้วยพนักงานเพียง 15 คน แต่เราดำเนินการโดยอาศัยความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยหลายแห่ง นอกจากนี้การศึกษาวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัยก็มีหัวข้อเรื่องแบคทีเรียดีในลำไส้ของคนที่ได้รับประทานพืชที่มีคุณค่าสารอาหารสูงจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร กล่าวคือสภาพแวดล้อมในลำไส้จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เนื่องจากสภาพแวดล้อมในลำไส้เป็นประเด็นสำคัญ ( Hot Topic )ในทางการแพทย์ และมีมูลค่าการศึกษาวิจัยสูง ดังนั้นจึงสามารถรับงบประมาณจากรัฐมาได้ แม้ในบัดนี้ก็ได้รับการสนับสนุนจากนักวิจัยมากมายทำให้การวิจัยคืบหน้าไปมาก มีบางท่านคุยอย่างภาคภูมิใจว่า “ฉันนี่แหละที่เป็นคนกำหนดมูลค่าของ Koikurenai” แน่นอนว่ามันคงไม่ได้มาในวันเดียว แต่เป็นผลลัพธ์จากการฟูมฟักระบบการศึกษาวิจัย โดยการเชิญทีมนักวิจัยซึ่งเข้ามาร่วมเยี่ยมชมกระทรวงเกษตรป่าไม้และการประมงและสังคมวิชาการต่าง ๆ มาร่วมมือกัน

ขยายออกสู่แนวตั้งเพื่อให้ขายได้ราคาถูก

<พิจารณาสิ่งที่ทำได้เพื่อปรับลดราคา>

เราได้แนะนำกิจกรรมที่จะทำให้ได้ไลโคปินมากที่สุดไปแล้ว แต่เพียงเท่านั้นก็ยังมีหัวข้อปัญหาในการที่จะขอให้นำไปวางลงบนชั้นวางในร้านค้าจำหน่ายขนาดใหญ่หรือที่เรียกว่าซุปเปอร์มาเก็ต ก็เพราะเหตุว่า Koikurenai มีช่วงเวลาเก็บเกี่ยวเพียงแค่ 1 เดือนเท่านั้น หากมีปริมาณจำกัดที่เก็บเกี่ยวได้เพียง 1 เดือน จะทำให้ราคาสูงขึ้นอย่างมาก แม้จะสามารถสร้างแครอทที่มีความอร่อยและมีคุณค่าสารอาหารสูงเพียงใดก็ตาม แต่หากมีคนจำกัดเพียงหยิบมือเดียวเท่านั้นที่ซื้อหาได้ก็จะไม่สามารถบรรลุปรัชญาที่ NK AGRI ยึดถือดังความว่า “จัดหาอาหารเพื่อให้ผู้คนได้สรรสร้างชีวิตที่ดีต่อสุขภาพได้” ดังนั้นทาง NK AGRI จึงได้ร้องขอการผลิตไปยังเกษตรกรที่เห็นพ้องในกิจกรรมของ NK AGRI เพื่อจะได้เพิ่มการกระจาย Koikurenai ออกสู่ตลาดได้ ประเด็นคือการอยู่กระจัดกระจายของภูมิภาคที่มีเกษตรกรที่ NK AGRI ได้ทำการร้องขอให้ดำเนินการผลิต

“ปัจจุบันได้มีการผลิต Koikurenai ใน 7 จังหวัด (รวมถึงเขตการปกครองที่เรียกว่าโด)” นับตั้งแต่ตอนเหนือ คือ ฮอกไกโด ไปจนถึงตอนใต้ คือ จังหวัดคาโงชิมะ ที่ว่าตั้งแต่ตอนเหนือ คือ ฮอกไกโด ไปจนถึงตอนใต้ คือ จังหวัดคาโงชิมะนั้นเป็นสิ่งสำคัญ หากทำการผลิตในแต่ละท้องที่ของญี่ปุ่นที่มีภูมิประเทศเป็นแนวยาวจากใต้สู่เหนือนั้น ช่วงเวลาการหว่านเมล็ดก็จะกระจายตัวไปทีละน้อย  เมื่อเป็นดังนี้ช่วงเวลาการเก็บเกี่ยวก็จะกระจายตัวไปด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ “การปรับเปลี่ยนช่วงเวลาหว่านเมล็ดและการเก็บเกี่ยวตามแหล่งผลิต ได้สร้างหลักประกันในเรื่องชั้นวางในซุปเปอร์มาเก็ตจนสามารถนำสินค้ามาจัดวางที่หน้าร้านได้เป็นระยะเวลาครึ่งปี โดยอาศัยการปรับเปลี่ยนช่วงเวลาเก็บเกี่ยวที่แต่เดิมมีเพียง 1 เดือนเท่านั้น ปริมาณการผลิตก็เพิ่มขึ้น ช่วงเวลาที่อยู่หน้าร้านก็ยาวนานขึ้น และสามารถตั้งราคาให้สามารถนำไปใช้ทำอาหารในทุก ๆ วันได้เป็นผลสำเร็จ  นอกจากนี้ยังได้ควบคุมปริมาณที่มีการผลิตและกระจาย Koikurenai ออกสู่ตลาดในปัจจุบันพร้อมไปกับการพยากรณ์อุปสงค์ โดยการประสานเชื่อมโยงแหล่งผลิตเข้าด้วยกัน เพื่อรักษาราคาให้อยู่ในระดับคงที่”

ยิ่งกว่านั้นคุณยามาคาว่าและสมาชิกยังได้ดำเนินการเปลี่ยนแปลงการวางแผนสินค้าตามการตลาดด้วย แต่เดิม Koikurenai จะจัดจำหน่าย 3 ชิ้นต่อ 1 รายการ แต่จากสภาวการณ์ปัจจุบันที่การรับประทานในระดับปัจเจกมีเพิ่มมากขึ้น ส่วนปริมาณพืชที่บริโภคกันในระดับครอบครัวมีลดน้อยลง ปัจจุบันจึงเริ่มเปลี่ยนไปเป็นจำหน่ายที่ 2 ชิ้นในราคา 198 เยนอย่างกว้างขวาง    จากการดำเนินกิจกรรมเหล่านี้ทำให้ในปัจจุบันที่ซุปเปอร์มาเก็ตเฉลี่ย 1 ใน 4 แห่งทั่วประเทศญี่ปุ่นสามารถหาซื้อ Koikurenaiได้แล้ว

กิจกรรมของ NK AGRI เป็นกิจกรรมสืบหาหัวข้อปัญหาของการเกษตร หรือสืบหาอุปสงค์ของผู้บริโภค และสืบหาผู้ที่จะตอบสนองต่อหัวข้อปัญหาหรืออุปสงค์เหล่านี้ เพื่อหาประเด็นที่แต่ละฝ่ายสามารถร่วมมือต่อกันได้อย่างคงเส้นคงวา เพื่อประสานความเชื่อมโยงและสร้างรากฐานต่อไป รากฐานนั้นไม่ใช่อะไรอื่นนอกจากหนทางที่จะสร้างความสัมพันธ์กับสังคมที่ดียิ่งกว่าเดิม และเป็นการตลาดแบบทุกคนมีส่วนร่วมที่พวกเขากล่าวถึง จึงกล่าวได้อีกอย่างว่า Venture Company ที่มีพนักงานเพียง 15 คน คือ ต้นสายธารที่จะได้สำแดงพลังอันน่าประหลาดใจออกมา สิ่งที่พวกตนกำลังทำอยู่ได้ถักทอสายสัมพันธ์กับสังคมอย่างไร ผู้ที่ส่งแรงเชียร์สินค้านั้นเป็นใคร และจะให้ความร่วมมืออย่างไร   บรรดาผู้คนที่เกี่ยวข้องทั้งหมดสามารถมุ่งหันไปสู่ทิศทางเดียวกันได้หรือไม่ อาจนับเป็นเรื่องที่ดีที่จะคิดพิจารณาการสร้างรากฐานการดำเนินการตลาดแบบทุกคนมีส่วนร่วมโดยคิดพิจารณาในแต่ละสถานการณ์ต่าง ๆ กันไป