2019.12.13

Survey

การสำรวจทัศนคติของผู้บริโภคด้านการตลาดของสื่อโซเชียลในประเทศญี่ปุ่น

ก่อนหน้านี้เราได้ลงบทความเรื่อง “ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีสื่อโซเชียลระดับต้นของโลก” แต่ Macbee Planet บริษัทการตลาดดิจิตอลของญี่ปุ่นได้ปฏิบัติการ “การสำรวจทัศนคติของผู้บริโภคด้านการตลาดของสื่อโซเชียลในประเทศญี่ปุ่น” และเปิดเผยผลสำรวจดังกล่าว โดยมีเป้าหมายการสำรวจเป็นเพศชายและหญิงจำนวน 500 คน ในช่วงอายุระหว่าง 10-60 ปี เราจึงขอนำผลดังกล่าวมานำเสนอ

สื่อโซเชียลที่จะส่งผลต่อการซื้อได้แก่ YouTube

หากพิจารณาในภาพรวมช่วงอายุ 10-60 ปี สื่อโซเชียลที่ได้กลายเป็นแรงจูงใจในการซื้อมากที่สุดได้แก่ YouTube อยู่ที่ 30% รองลงมาอันดับ 2 คือ “อื่น ๆ” อยู่ที่ 27% หนึ่งในนั้นระบุว่าเป็น blog ส่วนผู้มีอายุระหว่าง 10-20 ปี ไม่มีใครเลือกคำตอบ “อื่น ๆ” แต่อย่างใด

หากพิจารณาแยกตามช่วงอายุจะพบว่า ช่วงอายุระหว่าง 10-20 ปี “Instagram” มีเปอร์เซ็นต์ที่มากอย่างท่วมท้น

ส่วนช่วงอายุระหว่าง 30-40 ปี “Youtube” มีเปอร์เซ็นต์ที่เป็นแรงจูงใจในการซื้ออยู่มาก และช่วงอายุ 50-60 ปี การเลือก “อื่น ๆ” มีเปอร์เซ็นต์เพิ่มสูงขึ้นมากเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งตรงข้ามกับกลุ่มวัยหนุ่มสาว

“Youtube” ซึ่งมาเป็นอันดับ 1 ในภาพรวมมีผลลัพธ์ที่ได้รับการประเมินให้คะแนนในเรื่อง “ความเข้าใจได้ง่าย” เช่น ความรู้สึกหลังใช้ที่มีความเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน “วิธีใช้หรือประสิทธิผลของสินค้ามีความเข้าใจได้ง่าย” “การใช้งาน หรือความรู้สึกหลังใช้มีความเข้าใจได้ง่าย” เป็นต้น

สิ่งที่สื่อโซเชียลให้ความสำคัญคือ “Like” ไม่ใช่ “ไลค์ !”

สิ่งที่โพสต์ในสื่อโซเชียลซึ่งผู้ใช้งานให้ความสำคัญ ได้แก่ “ความรู้สึกหลังใช้ หรือรีวิวอย่างละเอียด” ซึ่งมีมากที่สุด25% อันดับ 2 คือ “ภาพถ่าย” และ “คำอธิบายภาพรวมของสินค้า” ซึ่งมีเปอร์เซ็นต์เท่ากันที่ 18% อันดับ 4 คือ “เสียงจากผู้ใช้งาน” อยู่ที่ 15% ดังนั้น นับตั้งแต่อันดับต้นจนถึงอันดับ 4 จึงครองสัดส่วนราว 70% ของทั้งหมด สำหรับ “คำวิจารณ์ต่าง ๆ” ที่ทำให้เข้าใจได้ว่า “ตัวสินค้านั้นจริง ๆ แล้วเป็นอย่างไร” เป็นตัวเรียกคะแนนที่ดี โดยไม่เกี่ยวกับยอดไลค์! หรือยอดติดตามผู้โพสต์

ในกรณีที่นำหัวข้อรวม 8 หัวข้อของสิ่งที่ให้ความสำคัญต่อสิ่งที่โพสต์ในสื่อโซเชียลมาแบ่งเป็น 3 หัวข้อได้แก่ “ลักษณะหน้าตาของสิ่งที่โพสต์” “เนื้อหาของสิ่งที่โพสต์” “การให้คะแนนผู้โพสต์หรือสิ่งที่โพสต์” นั้น พบว่าช่วงอายุ 10-20 ปี หัวข้อที่ได้ให้ความสำคัญ 42% คือ “ลักษณะหน้าตาของสิ่งที่โพสต์” ซึ่งเป็นการเน้นความสำคัญต่อภาพถ่าย หรือภาพเคลื่อนไหวที่ดูเข้าใจง่าย เป็นต้น

เมื่อมาพิจารณาช่วงอายุ 50-60 ปี นั้น 53% ได้ให้คำตอบเป็น “เนื้อหาของสิ่งที่โพสต์” จะเห็นได้ว่าเปอร์เซ็นต์ของผู้ที่เน้นความสำคัญต่อ “ลักษณะหน้าตาของสิ่งที่โพสต์” จะลดลงราว ๆ เกือบ 20% จากช่วงอายุ 10-20 ปี  ส่วนผู้ที่ให้ความสำคัญต่อ “เนื้อหาของสิ่งที่โพสต์” เช่นความรู้สึกหลังใช้หรือรีวิวอย่างละเอียดมีเพิ่มขึ้น

Account ในนามบริษัท และ Account ในนามของเพื่อนหรือบุคคลมีชื่อเสียงอยู่ในระดับใกล้เคียงกัน

เมื่อถามว่าระหว่าง Account ในนามบริษัท และ Account ในนามของเพื่อนหรือบุคคลมีชื่อเสียง Account แบบไหนจะเป็นตัวอ้างอิงในการซื้อมากกว่ากัน ผลลัพธ์ที่ได้คือ  “เพื่อนหรือบุคคลมีชื่อเสียง” 48% (239คน) “Account ในนามบริษัท” 52% ซึ่ง Account ในนามบริษัท จะมีเปอร์เซ็นต์ที่มากกว่า