2020.02.21

Survey

สภาพการณ์การใช้สื่อโซเชียลใน ASEAN

ก่อนหน้านี้ได้มีการลงบทความเรื่อง “ประเทศไทยเป็นประเทศสื่อโซเชียลระดับแนวหน้าของโลก” ไปแล้วและในปีนี้ก็เช่นกัน WE ARE SOCIAL LTD. บริษัทดิจิตอลมาเก็ตติ้งของอังกฤษได้ออกเผยแพร่บทความ “Digital 2020” ดังนั้นในครั้งนี้เราจึงขอนำเสนอหลาย ๆ ข้อมูลที่น่าสนใจจากมุมมองของคำว่า “ASEAN” “SOCIAL MEDIA” และ“B2B”

ก่อนอื่นเมื่อลองเข้าไปดูหัวข้อ “เวลาการใช้อินเตอร์เน็ตผ่านอุปกรณ์สื่อสารแบบพกพาใน 1 วัน” รายชื่ออันดับต้น ๆคือ ฟิลิปปินส์ อยู่ที่ 5 ชม. 11 นาที ไทย อยู่ที่ 4 ชม. 57 นาที ตามด้วยอินโดนีเซีย และมาเลเซีย ซึ่งนับเป็นสัญลักษณ์ของความเป็น ASEAN อย่างหนึ่ง แสดงให้เห็นว่า Mobile First ได้กลายเป็นกระแสหลักไปแล้ว

ส่วนญี่ปุ่นนั้นอยู่ในอันดับท้ายสุดในบรรดาประเทศที่เป็นเป้าหมายการตรวจสอบโดยอยู่ที่ 1 ชม. 32 นาที

แต่ประเทศต่าง ๆ ส่วนมากที่ถูกเรียกว่าประเทศที่พัฒนาแล้วนั้น มักถูกจัดอยู่ในกลุ่มอันดับท้าย ๆ ซึ่งก็หมายความว่าไม่ค่อยมีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตผ่านอุปกรณ์สื่อสารแบบพกพากันเท่าไรนัก

ถัดไปลองมาดู “เวลาในการใช้สื่อโซเชียลใน 1 วัน”

ฟิลิปปินส์อยู่ในอันดับแรกที่ 3 ชม. 53 นาที ตามด้วยอินโดนีเซีย ไทย และมาเลเซียที่ครองอันดับต้น ๆ หากลองเทียบประกอบกับข้อมูลเมื่อสักครู่นี้ อาจกล่าวได้ว่าผู้ใช้งานของ ASEAN ได้ใช้เวลากับอุปกรณ์สื่อสารแบบพกพาส่วนใหญ่ไปกับสื่อโซเชียล

ข้อมูลนี้ก็เช่นกัน ญี่ปุ่นถูกจัดอยู่ในอันดับท้ายสุด โดยอยู่ที่ 45 นาที ซึ่งบรรดาประเทศพัฒนาแล้ว ส่วนใหญ่ก็ถูกจัดอยู่ในกลุ่มอันดับท้าย ๆ

ถัดไปมาดูกันว่า “มีการใช้สื่อโซเชียลมากน้อยแค่ไหนในการทำงาน”

อินโดนีเซียอยู่อันดับแรกที่ 65% ตามมาด้วยฟิลิปปินส์ เวียดนาม มาเลเซีย และไทยที่ครองอันดับต้น ๆ ทำให้เข้าใจได้เป็นอย่างดีว่าใน ASEAN สื่อโซเชียลได้กลายเป็นเครื่องมือที่ขาดไม่ได้ในการทำธุรกิจ แต่ในส่วนประเทศพัฒนาแล้วประเทศ เช่น ญี่ปุ่น กลับถูกจัดอยู่ในกลุ่มอันดับท้าย ๆ

ถัดไปลองมาดูข้อมูล “สื่อโซเชียลที่ถูกใช้มากที่สุด” ในประเทศต่าง ๆ ได้แก่ ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม และฟิลิปปินส์

แพลตฟอร์มที่มีวัตถุประสงค์สำหรับการอ่าน การรับชมและฟังคอนเทนต์นั้น Facebook และ Youtube มีเกินกว่า 90% ซึ่งโดดเด่นกว่าแพลตฟอร์มอื่น ๆ กล่าวได้อย่างชัดเจนว่า Facebook เป็นสื่อโซเชียลที่มีการใช้มากที่สุดใน ASEAN ส่วน LinkedIn มีอัตราการใช้ราว 30% ในแต่ละประเทศ ทั้งนี้ในประเทศไทย LINE มีอัตราการใช้ในระดับสูงที่ 85% แต่ในประเทศอื่น ๆ มีอัตราการใช้ราว 30% ซึ่งเห็นได้ถึงความแตกต่าง นับเป็นเรื่องที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก

ถ้าเช่นนั้นลองมาดู “โฆษณา Facebook บรรลุเป้าหมายตามคาดได้แค่ไหน”

อันดับแรก คือ ฟิลิปปินส์ 87% มาเลเซีย 86% ตามมาด้วยเวียดนาม ไทย และสิงคโปร์ที่อยู่ในอันดับต้น ๆ กล่าวคือประเทศต่าง ๆ ในASEAN ใช้โฆษณา Facebook ได้ประสิทธิผลดี

ส่วนญี่ปุ่นอยู่ที่ 16% ดังนั้นอาจไม่ค่อยได้ประสิทธิผลเท่าไรนัก

อย่างไรก็ตาม บริษัทระดับสากลที่ดำเนินธุรกิจ B2B โดยส่วนใหญ่ ใช้ประโยชน์จาก LinkedIn ในการตลาดสื่อโซเชียล ซึ่งก็มีข้อมูลที่ชื่อว่า “โฆษณา LinkedIn บรรลุเป้าหมายตามคาดแค่ไหน” จึงขอลองนำมาเปรียบเทียบกัน

สหรัฐอเมริกากับเนเธอร์แลนด์อยู่อันดับแรกที่ 62% ตามมาด้วยนิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย แคนาดา ส่วน ASEAN นั้นสิงคโปร์อยู่ในอันดับต้น ๆ ส่วนประเทศต่าง ๆโดยส่วนใหญ่ใน ASEAN อยู่ในกลุ่มอันดับท้าย ๆ ซึ่งแสดงว่าโฆษณา LinkedIn แทบไม่ให้ประสิทธิผลเลย

เมื่อลองดูตามนี้ หากลองจัดสร้างแผนมาตรการทางการตลาดสำหรับ B2B ใน ASEAN แล้วล่ะก็ จะไม่สามารถตัดสื่อโซเชียลซึ่งคนจำนวนมากที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของเรา มักใช้งานอยู่เป็นประจำออกได้

อาจมีความจำเป็นต้องเลือก Facebook หรือ YouTube ซึ่งเป็นสื่อโซเชียลยอดนิยมอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าแพลตฟอร์มอื่น ๆ เช่น LinkedIn หรือ LINE จะไม่ให้ประสิทธิผลแต่อย่างใด

นอกจากนี้ ข้อมูลที่ว่าความถี่ในการสัมผัสกับสื่อโซเชียลในบรรดาประเทศที่พัฒนาแล้วมีอยู่น้อย ก็เป็นเรื่องของปัญหาวิธีการใช้เวลา ซึ่งก็มองได้อีกมุมหนึ่งเช่นกันว่า มีการเลือกข้อมูลข่าวสารจากสื่อโซเชียลได้อย่างเหมาะสม เหนือสิ่งอื่นใดการสร้างภาพเป้าหมายอย่างแม่นยำยังเป็นเรื่องสำคัญ ดังนั้นการวินิจฉัยด้วยข้อมูลเชิงสัมพัทธ์ดังกล่าวเพียงอย่างเดียวจึงย่อมมีความเสี่ยงไม่มากก็น้อยตามมาด้วย

 

หากท่านมีประเด็นปัญหาเกี่ยวกับการตลาด B2Bใน ASEAN ขอเชิญปรึกษาได้โดยไม่ต้องลังเลใจ Bigbeat Bangkok ให้สัญญาว่าจะจัดหาบริการการตลาดแบบครบวงจรแก่ท่าน