2020.03.17

Like a Rolling Stone

เกตเวย์แห่งใหม่ของกรุงเทพฯ“สถานีกลางบางซื่อ”

เกตเวย์แห่งใหม่ของกรุงเทพฯ “สถานีกลางบางซื่อ”

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การพัฒนาของกรุงเทพฯ เป็นที่น่าประทับใจ และในปี พ.ศ. 2564 มีกำหนดการจะเปิดสถานีกลางบางซื่อ ซึ่งเป็นเกตเวย์ใหม่สู่กรุงเทพฯ  ที่ผ่านมาสถานีหัวลำโพง (สถานีกลางกรุงเทพ) มีชื่อเสียงในฐานะเป็นสถานีกลางในกรุงเทพ แต่บทบาทของสถานีนี้จะสิ้นสุดลงในไม่ช้า กล่าวกันว่าสถานีหัวลำโพงสร้างเสร็จสมบูรณ์เมื่อในปี พ.ศ. 2459 เมื่อ 100 กว่าปีที่แล้ว   เป็นอาคารที่มีประวัติศาสตร์ซึ่งสามารถใช้หลบหนีจากสงครามของกองทัพพันธมิตรในช่วงสงคราม เป็นที่ทราบกันว่าสถานี

หัวลำโพงเป็นสถานีปลายทางของการรถไฟแห่งประเทศไทย   ลักษณะเป็นอาคารรูปโดมที่จำลองมาจากสถานีแฟรงค์เฟิร์ตในประเทศเยอรมนี  ซึ่งสถานีแห่งนี้เป็นสถานียอดนิยมสำหรับแบ็คแพ็คเกอร์จำนวนมาก

ที่สถานีแห่งนี้มีรถไฟประมาณ 200 ขบวน เข้าและออกทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง ได้แก่ สายหลักทางเหนือสู่เชียงใหม่

สายตะวันออกเฉียงเหนือ สายตะวันออก สายผ่านสายใต้  และเส้นทางรถไฟระหว่างประเทศเชื่อมต่อไปยังบัตเตอร์เวิร์ทของมาเลเซีย  ในครั้งนี้จะขอแนะนำ “สถานีกลางบางซื่อ ” ซึ่งเป็นเกตเวย์ใหม่ของกรุงเทพฯ  โดยรับช่วงต่อจาก “สถานีหัวลำโพง” ซึ่งมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน

สถานีปลายทางที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน

สถานีกลางบางซื่อจะเป็นสถานีปลายทางที่ใหญ่ที่สุดและทันสมัยที่สุดในอาเซียน  ด้วยพื้นที่กว่า 640,000 ตารางเมตร  โดยเป็นโครงการแรกในประเทศไทยที่จำลองแบบการพัฒนาเพื่อสร้างเมืองที่ได้วางพื้นฐานในระบบขนส่งสาธารณะ โดยไม่พึ่งรถยนต์ (Transit Preferred Development) สำหรับโครงสร้างของสถานี   ประกอบด้วย 3 ชั้น   ชั้นแรกจำหน่ายตั๋ว และพื้นที่นั่งพักรอของผู้โดยสาร    ชั้นที่ 2 เป็นชานชาลาสำหรับรถไฟทางไกล และรถไฟสายสีแดงของการรถไฟแห่งประเทศไทย  และชั้นที่ 3 เป็น แอร์พอร์ตลิงค์ และรถไฟความเร็วสูง   สำหรับชั้นใต้ดินเป็นสถานีรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน  นอกจากนี้ชั้นใต้ดินยังมีที่จอดรถได้ 1,700 คัน ณ  ปัจจุบัน การก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ไปแล้วประมาณ 70%

ในครั้งนี้คือ รถไฟสายสีแดง ที่เป็นไฮไลท์นั้น มีกำหนดเปิดในปี พ.ศ. 2564   ซึ่งจะเป็นรถไฟใหม่จาก บริษัท ฮิตาชิ  เป็นรถไฟความเร็วสูงวิ่งด้วยความเร็ว 160 กม./ชม. โดยมีการวางแผนที่จะเชื่อมต่อกับรถไฟชานเมือง  แอร์พอร์ตลิงค์   รถไฟความเร็วสูง และรถไฟสายสีน้ำเงิน  สายสีชมพูและสายสีเขียว  ซึ่งคาดว่าจำนวนผู้ใช้ในปีแรกที่เปิดให้บริการอยู่ที่ 300,000 คน/วัน

นอกจากนี้ปัจจุบันการเดินทางไปยังสนามบินดอนเมืองไม่สะดวกอย่างมาก เพราะสามารถเดินทางได้เพียงรถยนต์เท่านั้น

หากมีการเปิดตัวสายสีแดง ก็จะทำให้สามารถเดินทางไปยังสนามบินได้ง่ายขึ้น และช่วยบรรเทาการจราจรที่แออัดโดยรอบสนามบินได้

อนาคตของเครือข่ายรถไฟในใจกลางกรุงเทพฯ

ในขณะเดียวกัน สำหรับ BTS และ MRT ซึ่งปัจจุบันเปิดดำเนินการในใจกลางกรุงเทพฯ ก็กำลังพัฒนาเส้นทางใหม่ ๆ และในปี พ.ศ. 2572  จะเปิดให้บริการทั้งหมด 13 เส้นทาง   รวมเส้นทางที่เปิดในปัจจุบันด้วย ซึ่งปัจจุบันในโตเกียวมี 14 เส้นทาง   ดังนั้นจะเห็นว่าเมื่อเทียบกับเครือข่ายรถไฟในโตเกียวอันแสนซับซ้อนก็จะไม่แตกต่างกันมากนัก

ในกรุงเทพฯ รถไฟฟ้า BTS สายสุขุมวิทมีผู้โดยสารมากที่สุด  เนื่องจากเป็นเส้นทางที่สะดวกมาก วิ่งผ่านอโศกและสยามซึ่งเป็นในย่านศูนย์กลางธุรกิจ   และพื้นที่ที่ชาวญี่ปุ่นและชาวต่างชาติอาศัยอยู่  และคาดว่า BTS สายสุขุมวิทจะขยายจากสถานีบางนาไปยังสนามบินสุวรรณภูมิซึ่งจะช่วยให้สามารถเดินทางจากสนามบินไปยังใจกลางกรุงเทพฯ ได้ง่ายขึ้น

กรุงเทพมหานคร ในอีก 10 ปีข้างหน้า

คาดกันว่าระบบการขนส่งในกรุงเทพฯ จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก  และระบบขนส่งเมื่อเสร็จสิ้นในอนาคตจะสามารถเทียบเคียงกับโตเกียวได้ ในขณะเดียวกันบริเวณโดยรอบสถานี จะมีคอนโดมิเนียมและห้างสรรพสินค้าถูกสร้างขึ้น และราคาอสังหาริมทรัพย์โดยรอบสถานีก็จะเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้โครงการพัฒนาของกรุงเทพฯ จะไม่หยุดนิ่ง และบางทีในอีก 10 ปีข้างหน้านี้จะไม่สามารถเห็นความแออัดของการจราจรหรือที่เรียกว่าเป็นจุดเด่นของกรุงเทพฯ ได้อีก โดยส่วนตัวแล้วรู้สึกเสียดายเล็กน้อย

อนึ่ง สถานีหัวลำโพงหลังจากเสร็จสิ้นบทบาท ก็จะเปลี่ยนมาเป็นพิพิธภัณฑ์  และจะได้รับการพัฒนาเป็นพื้นที่ที่มีอาคารสำนักงานและโรงแรมต่าง ๆ