2020.07.09

B2B Marketing

กลยุทธ์การตลาดในรูปแบบอีเมล (Mail marketing) มีประสิทธิผลในกลุ่ม B2B จริงหรือ?

กลยุทธ์การตลาดในรูปแบบอีเมล (Mail marketing) มีประสิทธิผลในกลุ่ม B2B จริงหรือ?

– แพลตฟอร์มกลยุทธ์การตลาดในรูปแบบอีเมล B-marketing

อีเมลโซลูชัน (Mail Solution) กำลังเปลี่ยนรูปแบบสู่กลยุทธ์ทางการตลาดในรูปแบบอีเมล ซึ่งนำเสนอข้อมูลจำเป็นแก่บุคคลที่ต้องการข้อมูลเหล่านั้น

บริษัทของคุณใช้เครื่องมือแบบใดในการสื่อสาร?

เราต่างรู้กันดีว่าเครื่องมือในการสื่อสารมีหลากหลายประเภท ไล่เรียงตั้งแต่การใช้โซเชียลมีเดีย อาทิ Facebook หรือ LINE ไปจนถึงเครื่องมือสื่อสารภายในกลุ่มอย่างเช่น Slack และ Microsoft Teams นอกจากนี้ยังมีการสื่อสารแบบดั้งเดิมเช่น อีเมล และโทรศัพท์

Bigbeat Bangkok เปิดตัวเครื่องมือเพื่อกลยุทธ์ทางการตลาดในรูปแบบอีเมล ซึ่งเป็นการนำเครื่องมือสื่อสารชิ้นสำคัญที่ยังคงได้รับความนิยมแพร่หลายในตลาด B2B มาให้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ภายใต้ชื่อ “B-marketing”

ดังตัวอย่างข้างต้น มีผู้ให้ความเห็นว่าการส่งอีเมลผ่านระบบทำการตลาดแบบอัตโนมัติ (Marketing Automation) ที่ควบคุมการกระจายอีเมลโดยสำนักงานใหญ่ของบริษัทนั้นทำได้ยาก ก่อเกิดปัญหาในการใช้งาน อีกทั้งไม่เปิดช่องทางให้บริษัทสาขาในท้องถิ่นปฏิบัติงานดำเนินการจัดสรรจดหมายข่าวที่เหมาะกับตลาดท้องถิ่นนั้น ๆ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการดังกล่าว B-marketing จึงเป็นเครื่องมือกลยุทธ์ทางการตลาดรูปแบบอีเมลที่รวบรวมฟังก์ชันไว้ครบครัน ทั้งการส่งอีเมล การวิเคราะห์ รวมถึงการแบ่งกลุ่มย่อยของรายชื่อสมาชิกที่สนใจรับข่าวสาร

ช่องทางการสื่อสารในประเทศญี่ปุ่น

มาทำความรู้จักเกี่ยวกับสถานการณ์การใช้งานช่องทางสื่อสารในประเทศญี่ปุ่นกันสักหน่อย ก่อนเข้าสู่เรื่องราวของ B-marketing

เอกสารผลการสำรวจ:ระยะเวลาใช้เครื่องมือสื่อสารจำแนกตามคุณลักษณะของผู้ใช้

อ้างอิงจาก : “Survey on average time spent using information communication media (SNS, Email) and on behavior regarding the use of information communication. 2017”, Institute for Information and Communications Policy, Ministry of Internal Affairs and Communications

https://www.soumu.go.jp/johotsusintokei/whitepaper/ja/h30/html/nd252540.html

เอกสารผลการสำรวจ:พฤติกรรมการใช้งานเครื่องมือสื่อสารทางธุรกิจจำแนกตามประเทศ

*Rates are based on the survey responses, “Frequently used”, “Used sometimes” and “Not used at all.”

*ผลการสำรวจอ้างอิงจากคำตอบ “ใช้บ่อย” “ใช้เป็นครั้งคราว” “ไม่ได้ใช้เลย” ซึ่งอยู่ในแบบสอบถาม

*Rates are based on the survey responses, “Frequently used”.

*ผลการสำรวจอ้างอิงจากคำตอบ “ใช้บ่อย” ซึ่งอยู่ในแบบสอบถาม

อ้างอิงจาก : “Survey on ‘realization of inclusion‘ by ICT, 2018”, Institute for Information and Communications Policy, Ministry of Internal Affairs and Communications

https://www.soumu.go.jp/johotsusintokei/whitepaper/ja/h30/html/nd144220.html

บริษัท อะโดบี โคออพเพอเรชั่น (Adobe) เผย “ผลสำรวจผู้ใช้บริการอีเมลในปี 2019” ซึ่งจัดทำขึ้นในเดือนกรกฎาคม 2019 โดยกลุ่มเป้าหมายเป็นชาย และหญิงในช่วงอายุระหว่าง 10 ปี จนถึงช่วงอายุ 60 ปี จากประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ เยอรมัน ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย อียิปต์ และญี่ปุ่น ประเทศละ 1,000 คน

ผลสำรวจพบว่า ชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่ใช้อีเมลในการติดต่อสื่อสารที่สำนักงาน 38%  ในขณะที่ “การสื่อสารต่อหน้า” ซึ่งเป็นการติดต่อสื่อสารอันเป็นที่นิยมในประเทศอื่นนั้น ที่ประเทศญี่ปุ่นได้รับความนิยมเพียงเล็กน้อย โดยมีผู้ตอบว่าใช้เพียง 11% เท่านั้น ส่วนผู้ที่ตอบว่าใช้งานระบบส่งข้อความทันที (Instant Messaging) มีอยู่ 17% ผลสำรวจนี้ทำให้ทราบว่าแวดวงธุรกิจในประเทศญี่ปุ่น ยังนิยมใช้อีเมล และโทรศัพท์เป็นช่องทางหลักในการติดต่อสื่อสาร

อ้างอิงจาก : 2019 Adobe Email Report, Email Usage – Working Knowledge Workers (WW comparisson), Adobe Systems

ธุรกิจในประเทศญี่ปุ่นใช้อีเมลในการติดต่อสื่อสารเป็นหลัก

จริงอยู่ว่าโซเชียลมีเดียเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในการติดต่อสื่อสารภายในองค์กร ทว่าในแง่ของการพูดคุยสนทนากับลูกค้า หรือคู่ธุรกิจ ผู้ประกอบธุรกิจส่วนใหญ่ยังคงเลือกใช้อีเมลเป็นเครื่องมือหลักในการสื่อสารอยู่ดี แม้กระทั่งประเทศญี่ปุ่นเอง คนส่วนใหญ่จะเริ่มต้นการทำงานในแต่ละวันด้วยการเปิดกล่องข้อความอีเมล ซึ่งมีจดหมายข่าวต่าง ๆ ส่งเข้ามา อาทิ ข่าวเด่นจากสำนักข่าวออนไลน์ ข้อความแนะนำอีเวนท์ การแจ้งเตือนจากกูเกิล หรืออีเมลจากคู่ค้า อีเมลเหล่านี้ มีทั้งประเภทกระจายส่งให้แก่ทุกคนซึ่งมีรายชื่ออยู่ในกลุ่มสมาชิกผู้สนใจรับข่าวสาร ทั้งประเภทส่งแบบจำกัดขอบเขตของกลุ่มเป้าหมาย โดย B-marketing รองรับการใช้งานทุกประเภทที่กล่าวมา

อย่ามุ่งเน้นแค่การส่งอีเมลข่าวสาร เพราะกลยุทธ์การตลาดในรูปแบบอีเมลก็สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน

แต่ไหนแต่ไรมาแล้ว ที่ผู้คนมักนึกถึงภาพของ “จดหมายข่าว” เมื่อกล่าวคำว่า เมลโซลูชัน (Mail Solution) เพราะบริษัทส่วนใหญ่นิยมส่งข้อมูลขององค์กร หรือธุรกิจของตนในรูปแบบของจดหมายข่าว ไม่ว่าจะเป็น B2C (การติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ประกอบการกับผู้บริโภค) หรือ B2B (การติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ประกอบการด้วยกัน) ทั้งนี้ นับตั้งแต่ผลสำเร็จของการทำการตลาดผ่านคอนเทนต์ (Content) เริ่มได้รับความสนใจ ความสำคัญของจดหมายข่าวก็ยิ่งเพิ่มสูงมากขึ้น

ขณะเดียวกัน เมื่อผู้ใช้งานอีเมลได้รับอีเมลจากหน่วยงานธุรกิจต่าง ๆ มากขึ้นกว่าแต่ก่อน การเลือกเปิดเฉพาะอีเมลที่ตนคิดว่าสำคัญย่อมเกิดตามมา จริงอยู่ว่าผู้ประกอบการจำเป็นต้องส่งข้อมูลชุดเดียวกันไปยังบุคคลทั้งหมดในรายชื่อผู้รับข่าวสาร ทว่าปัญหาใหญ่คือ ผู้รับจำนวนไม่น้อยมองว่าอีเมลข่าวสารเหล่านั้นไม่มีความเกี่ยวข้องกับตน และตัดสินใจยกเลิกการรับจดหมายข่าว หรือกดลบอีเมลทิ้งก่อนเปิดอ่านเสียด้วยซ้ำ

ด้วยเหตุนี้ อีเมลโซลูชัน (Mail Solution) จึงเป็นที่ต้องการมากขึ้นในแง่ของการใช้ประโยชน์จากการเปลี่ยนการส่งจดหมายข่าวถึงทุกคนพร้อมกัน มาเป็นการนำเสนอข้อมูลจำเป็นให้เฉพาะกลุ่มผู้ต้องการรับข่าวสาร

B-marketing คืออะไร

B-marketing ไม่ใช่แค่การส่งอีเมลถึงผู้รับเท่านั้น แต่เป็นเครื่องมือกลยุทธ์ทางการตลาดในรูปแบบอีเมลที่มีฟังก์ชันการทำงานใกล้เคียงกับระบบทำการตลาดแบบอัตโนมัติ (Marketing Automation) ซึ่งสามารถปรับการใช้งานได้ตามต้องการ ทั้งแบบระยะยาวตลอดปีหรือเฉพาะช่วงเวลา

โดยสามารถส่งอีเมลถึงทุกคนในรายชื่อผู้รับข่าวสารที่ถูกจัดเก็บในระบบ หรือเลือกส่งอีเมลแบบเจาะจงกลุ่มย่อย และหลังจากส่งอีเมลไปแล้ว ยังสามารถตรวจสอบอัตราการเปิดอีเมล อัตราการคลิกผ่าน ( Click-through rate) และอัตราการยกเลิกการรับจดหมายข่าว ฯลฯ ได้ด้วย  ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการปรับปรุงกลยุทธ์การกระจายข่าวสารผ่านทางอีเมล

B-marketing เป็นประโยชน์ทั้งในด้านการสานสัมพันธ์กับของกลุ่มบุคคลซึ่งคาดว่าจะเป็นลูกค้า (Lead) ที่พบจากงานจัดแสดงสินค้า รวมถึงสามารถนำไปใช้ดึงดูดกลุ่มคนเข้าร่วมงานสัมมนาได้เช่นกัน

B-marketing ส่งเสริมให้เกิดกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย (Lead Generation)

บริการของ B-marketing

หากคุณมีความคิดดังต่อไปนี้เกี่ยวกับกลยุทธ์ทางการตลาดในรูปแบบอีเมล เรายินดีให้คำปรึกษา

・ต้องการมอบหมายให้บริษัทสาขาในท้องถิ่นปฏิบัติงานซึ่งมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องตลาดประเทศไทย เป็นผู้จัดการกลยุทธ์ทางการตลาดในรูปแบบอีเมลในประเทศไทย

・เซ็นสัญญาใช้ระบบเครื่องมือทำการตลาดแบบอัตโนมัติ (Marketing Automation) ที่สำนักงานใหญ่ในประเทศญี่ปุ่น แต่กลับไม่สามารถนำมาใช้งานโดยตรงในท้องถิ่นปฏิบัติงาน

・ต้องการจ้างบุคลากรภายนอกให้ทำการการวางนโยบางทางการตลาด การวางแผนกลยุทธ์ และการควบคุมการดำเนินการ ฯลฯ ทั้งหมด

・ ต้องดูแลจัดการข้อมูลส่วนบุคคลปริมาณมหาศาล ทว่าปัญหาคือในบริษัทสาขาในท้องถิ่นปฏิบัติงานไม่มีทรัพยากรเพียงพอสำหรับรับมือ

ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ B-marketing ได้ทางเว็บบล็อกด้านล่างนี้