2020.11.15

B2B Marketing

ในที่สุดก็ถึงเวลาแล้ว สำหรับการจัดงาน JRIT in CEBIT ASEAN Thailand 2020

ในที่สุดก็ถึงเวลาแล้ว สำหรับการจัดงาน JRIT in CEBIT ASEAN Thailand 2020

งาน CEBIT ASEAN Thailand 2020 Virtual Edition จะเริ่มขึ้นในสัปดาห์หน้า วันที่ 23 พฤศจิกายน 2563

แม้จะจัดงานในรูปแบบออนไลน์ ซึ่งเป็นผลมาจาก COVID-19 แต่กลับมีองค์กรด้าน IT จากทั้งภายใน และภายนอกประเทศไทยรวมกว่า 100 แห่ง ตอบรับเข้าร่วมงานครั้งนี้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ปีนี้ถือเป็นงาน CEBIT ASEAN Thailand ครั้งที่ 3 ซึ่งพวกเรา Bigbeat Bangkok เอง ก็ได้จัดงาน Japan Recommend IT (รู้จักทั่วไปในนาม JRIT) ขึ้นภายในอีเว้นท์นี้ด้วยเช่นกัน ดังนั้น จึงขอแนะนำเกี่ยวกับ Japan Recommend IT in CEBIT ซึ่งกำลังจะมีขึ้นในอีกหนึ่งสัปดาห์ข้างหน้ากันสักเล็กน้อย

ในงาน CEBIT ASEAN Thailand 2020 Virtual Edition ครั้งนี้ทางเราได้จัดพื้นที่พิเศษที่เรียกว่า Japan Recommend IT Zone ขึ้น โดยใน Japan Recommend IT Zone จะมีการจัดแสดงของบริษัท Hitachi Asia, LUMADA、ISID South East Asia, Qualica (Thailand), b-en-g, HULFT, Lexer Research รวมทั้งหมด 7 บริษัท (8 บูธ)

ต่อไปนี้จะขอแนะนำบูธของแต่ละบริษัท ได้แก่

・บูธ Hitachi Asia (JP1) แนะนำ  “JP1” ซอฟท์แวร์ควบคุมการทำงานของระบบ IT ซึ่งใช้งานมากที่สุดในญี่ปุ่น

・บูธ ISID จัดแสดงผลงานต่าง ๆ ที่ผ่านมาของ IoT Solution ซึ่งใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตที่ประเทศญี่ปุ่น

・บูธ Qualica แนะนำ “ATOMS QUBE” ระบบควบคุมการผลิตบน Cloud สำหรับอุตสาหกรรมการผลิตขนาดกลางและกลุ่ม SME

・บูธ b-en-g ซึ่งมีประวัติในประเทศไทยยาวนานกว่า 18 ปี จะแนะนำ Solutions ได้แก่ ERP, IoT และ BI

・บูธ HULFT แนะนำ middleware ที่ชื่อว่า “DataSpider” เพื่อแก้ปัญหาด้าน Data Logistics ที่มีความซับซ้อน

・บูธ Hitachi Asia (MfI) แนะนำ Digital Solution เพื่อให้มองเห็นปัญหาคอขวดในหน้างานการผลิตที่ชื่อว่า Lumada Manufacturing Insights (MfI)

・บูธ Lexer Research นำเสนอโปรแกรมจำลองระบบการผลิตที่ชื่อว่า GD.findi

นอกจากนี้ ยังมีไฮไลท์อื่น ๆ ในงานครั้งนี้อีกด้วย

 1.การจัดงาน Japan Recommend IT Day

ในวันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน 2563 ซึ่งเป็นวันที่ 5 ของการจัดแสดงงาน ถือเป็น 1 วันพิเศษ ที่เราได้จัดเตรียม Special Webinar จาก JRIT ไว้ให้ทุกท่านได้รับชมกันตลอดทั้งวัน ภายใต้ชื่อ Japan Recommend IT Day

โดยงานจะเริ่มต้นด้วยการบรรยายในหัวข้อ “การนำ Digital Transformation เข้ามาใช้กับหน่วยงานภาคการผลิตของประเทศญี่ปุ่น” โดยคุณโทโมโนริ ยาโกะ (Tomonori Yako) CEO ของ INDUSTRIAL-X ซึ่งเป็นผู้นำด้าน IoT ของญี่ปุ่น และได้รับการขนานนามว่า “ Mr. IoT” ซึ่งครั้งนี้ถือเป็นการบรรยายในภูมิภาคอาเซียนครั้งแรกของคุณยาโกะ ผู้ปฏิวัติรูปแบบการทำงานในพื้นที่จริงของอุตสาหกรรมภาคการผลิตญี่ปุ่นมาแล้วมากมาย สำหรับประเทศไทยซึ่งกำลังเติบโตทางเศรษฐกิจในด้านอุตสาหกรรมการผลิต เชื่อว่าผู้ทำงานด้านการผลิตในประเทศไทยจะได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ และสามารถเรียนรู้ระบบงานภาคการผลิตของประเทศญี่ปุ่นในปัจจุบันได้จากการบรรยายครั้งนี้อย่างแน่นอน

ยิ่งไปกว่านั้น หลังการบรรยายช่วงแรกจบลง ก็จะยังมี Webinar ที่น่าสนใจจากแต่ละบริษัทภายในโซนของเราให้ได้รับชมกันอย่างต่อเนื่อง ได้แก่

10:40-11:10  ISID South East Asia

11:20-11:50  Qualica(Thailand)

13:00-13:30  Hitachi Asia (JP1)

13:40-14:10  b-en-g

14:20-14:50  HULFT

15:00-15:30  Hitachi Asia(MfI)

※    Webinar เป็นระบบลงทะเบียนล่วงหน้า ดังนั้นหากท่านต้องการเข้ารับชม กรุณาลงทะเบียนผ่านทาง link ด้านล่างนี้

https://virtual.varpevent.com/cebit-asean-thailand-2020/registration/

2.การสื่อสารสองทางระหว่างผู้เข้ามาเยี่ยมชมงาน และผู้นำสินค้ามาจัดแสดง

เนื่องจาก Business Matching ถูกจัดขึ้นในรูปแบบออนไลน์ จึงสามารถนัดเจรจาการค้ากับบริษัทที่ออกบูธเป็นรายบุคคลได้ตลอดช่วงระยะเวลาจัดงาน นอกจากนี้ ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม Virtual Booth ยังสามารถสอบถามบริษัทที่ออกบูธผ่านระบบ LIVE CHAT ได้อย่างง่ายดาย ซึ่งระบบนี้จะช่วยแก้ไขปัญหา และตอบข้อสงสัยของผู้เข้ามาเยี่ยมชมงานได้ในทันที

※ หากท่านต้องการเข้าร่วม Online Business Matching กรุณาลงทะเบียนผ่านทาง link ด้านล่างนี้

https://virtual.varpevent.com/cebit-asean-thailand-2020/registration/

3.บูธ Japan Recommend IT

วัตถุประสงค์ของโครงการ JRIT คือ ความต้องการที่จะให้ทุกท่านได้รับชมกิจกรรมที่ดำเนินการมาถึงปัจจุบัน และเป้าหมายที่ตั้งใจจะทำต่อไปในอนาคต ครั้งนี้ พวกเราจึงตัดสินใจออกบูธในฐานะเจ้าภาพของโครงการ JRIT เพื่อแนะนำกรณีตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จของ IT Solutions จากญี่ปุ่น ซึ่งได้ถูกนำมาใช้กับแต่ละประเทศในภูมิภาคอาเซียน ที่นอกเหนือจากประเทศไทย เพื่อให้ได้สัมผัสถึงความแนวโน้มความเป็นไปได้ของการใช้ Japan IT ภายในภูมิภาคอาเซียนอีกด้วย

4.กิจกรรม JRIT Special Lucky Draw

ทุกท่านที่เข้ามายังโซน JRIT มีสิทธิ์ลุ้นรับรางวัลสุดพิเศษตามรายละเอียดด้านล่าง

พวกเรารอคอยทุกท่านเข้ามาเยี่ยมชมบูธ และเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่เราจัดเตรียมไว้ให้นะครับ

หากท่านต้องการเข้าร่วมสนุกกับกิจกรรม Lucky Draw กรุณาสมัครโดยคลิกที่แบนเนอร์ “Lucky Draw” ภายในโซน Japan Recommend IT

5.ปรับเปลี่ยน Logo ของ Japan Recommend IT

เราได้ทำการปรับเปลี่ยน Logo ใหม่ เพื่อให้เข้าใจแบรนด์ “JRIT” ได้ง่ายยิ่งขึ้น เนื่องจากพวกเราต้องการให้ Logo นี้สามารถสื่อสารไปยังผู้ที่มีความเกี่ยวข้องกับ Digital Transformation ทั้งในประเทศไทย และภูมิภาคอาเซียน ด้วยดีไซน์ที่เรียบง่าย เพียงกวาดตามองก็เข้าใจได้ทันทีว่าต้องการสื่อถึง IT และกลุ่มดาวด้านซ้ายแสดงถึง 10 ประเทศในภูมิภาคอาเซียน โดยทั้งหมดเชื่อมต่อเข้ากับ 1 ดาว ซึ่งสื่อถึงประเทศญี่ปุ่น บ่งบอกถึงความตั้งใจที่จะเชื่อมโยง IT Solutions ในญี่ปุ่นไปยังทุกประเทศในภูมิภาคอาเซียน

โครงการนี้เริ่มจาก CEBIT ASEAN Thailand 2019 เมื่อปีที่แล้ว ด้วยความตั้งใจที่จะถ่ายทอด IT Solutions อันยอดเยี่ยมจากญี่ปุ่นไปสู่อาเซียน และในปีนี้ งาน “Japan Recommend IT Online 2020” ก็ได้จัดขึ้นโดยมีองค์กร IT ญี่ปุ่นเข้าร่วมจำนวนมาก  ซึ่งการเปลี่ยนแปลงรูปแบบงานของ  CEBIT ในครั้งนี้ ช่วยให้โปรเจคแบรนด์ที่มีชื่อว่า JRIT กลายเป็นที่รู้จักในกลุ่มองค์กรท้องถิ่นซึ่งมีลูกค้าเป็นผู้ใช้งานทั่วไป และกลุ่มองค์กร IT ญี่ปุ่นมากยิ่งขึ้น พวกเราจึงตั้งใจที่จะขยายโครงการ JRIT ต่อไปในประเทศอื่น ๆ ภายในภูมิภาคอาเซียนด้วย หวังว่าทุกท่านจะติดตามพวกเราต่อไปหลังจากนี้ด้วยนะครับ

【เกี่ยวกับ CEBIT ASEAN Thailand】

CEBIT ASEAN Thailand ถือเป็นงานจัดแสดงแบบ B2B ซึ่งจัดเป็นครั้งแรกในทวีปเอเชีย เมื่อช่วงเดือนตุลาคม 2561 โดยเป็นงานแสดงสินค้า “ICT & Digital Business” ซึ่งมี German Messe และ IMPACT EXHIBITION MANAGEMENT ในไทยเป็นเจ้าภาพจัดงานร่วมกัน ตามรูปแบบของ CEBIT ซึ่งเป็นงานจัดแสดงชั้นนำในเยอรมนี ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นงานจัดแสดงที่ถูกจับตามอง และได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างมากจากหน่วยงานราชการต่าง ๆ ในประเทศไทย เช่น  กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (TCEB) ซึ่งทั้งหมดทำหน้าที่ช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทยอยู่ในปัจจุบัน