รายงานการจัดงาน JRIT in CEBIT ASEAN Thailand
งาน CEBIT ASEAN Thailand 2020 Virtual Edition จัดขึ้นเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายนที่ผ่านมา
จากรายงานของคณะผู้จัดงาน ในการจัดงาน CEBIT ASEAN Thailand ครั้งนี้มีผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมงานรวมทั้งสิ้นประมาณ 2,600 คน หรือประมาณครึ่งหนึ่งจากที่ประมาณการณ์ไว้ในตอนแรกว่าน่าจะมีผู้สนใจเข้าร่วม 5,000 คน ซึ่งสาเหตุหนึ่งอาจเพราะเป็นการจัดงานในรูปแบบออนไลน์ อย่างไรก็ตาม ตัวเลขผู้เข้าร่วมงานแค่เพียงอย่างเดียวไม่สามารถใช้ประเมินผลสำเร็จของกิจกรรมได้ เนื่องด้วยครั้งนี้เป็นงานนิทรรรศการเพื่อลูกค้ากลุ่ม B2B โดยเฉพา
โปรเจ็กต์พิเศษ CEBIT ASEAN Thailand โซน Japan Recommend IT
บริษัทของเราได้รับโอกาสให้เปิดโซนกิจกรรม Japan Recommend IT ในงานดังกล่าว จึงอยากขอนำผลสรุปแบบคร่าว ๆ มาเล่าสู่กันฟังสักเล็กน้อย
ในโซน JRIT ครั้งนี้ มีผู้ประกอบการร่วมออกบูธทั้งหมด 8 บูธ และมีผู้สนใจเข้าชมโซน JRIT ทั้งสิ้น 1,000 คนโดยประมาณ การเปิดให้มี “Pitching video” หรือวิดีโอนำเสนอไอเดียธุรกิจ เพื่อแนะนำเกี่ยวกับบริษัท รวมถึงสินค้าของผู้ร่วมออกบูธแบบกระชับได้ใจความบูธละ 3 นาที นับเป็นแนวทางหนึ่งสำหรับอธิบายให้ผู้ชมงานรับรู้ว่าบริษัทแต่ละบริษัทให้บริการ solution รูปแบบใด
นอกจากนี้เรายังได้จัดเตรียมไฟล์ PDF ของ “e-Brochure” รวม 10 ประเภทให้ดาวน์โหลด แน่นอนว่าผู้ประกอบการสามารถติดตามผลได้ว่าผู้เข้าชมบูธแต่ละบูธเลือกดาวน์โหลดชนิดใดบ้าง ทำให้ง่ายต่อการวางแผนการขายหลังสิ้นสุดงานกิจกรรม
สิ่งหนึ่งที่น่าสังเกตคือ แม้ “Live Chat” ซึ่งจัดเตรียมไว้เพื่อให้ผู้เข้าชมงานถามคำถามกับผู้ประกอบการแบบไม่ต้องเตรียมตัวล่วงหน้าให้วุ่นวาย ไม่ได้รับเสียงตอบรับเท่าที่ควร แต่ในด้าน “Business Matching“ ซึ่งเป็นการเจรจาธุรกิจแบบนัดหมายวันเวลาล่วงหน้ากลับได้รับความสนใจอย่างมาก
วันที่ห้าของการจัดงาน ทางเราได้วางแผนโปรเจ็กต์พิเศษ “Japan Recommend IT Day” และจัดการถ่ายทอด Webinar เป็นจำนวน 7 หัวข้อด้วยกัน โดยเริ่มตั้งแต่ช่วงเช้า ซึ่งในแต่ละหัวเรื่องมีผู้สนใจรับฟังเฉลี่ยราว 70-80 คน คิดเป็นยอดรวมมากกว่า 500 คนในองค์รวมของกิจกรรม JRIT
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง Keynote เราได้รับเกียรติจากคุณยะโกะ โทโมโนริ CEO จากบริษัท Industrial-X เจ้าของสมญานาม “Mr. IoT” อันโด่งดัง ขึ้นเป็นผู้บรรยาย เพื่อแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติงานจริงของ IoT / Digital Transformation ที่แวดวงอุตสหากรรมการผลิตในประเทศญี่ปุ่นนำเข้ามาใช้ และเนื่องจาก IoT เปรียบได้กับเทคโนโลยีหัวใจสำคัญในแผนยุทธศาสตร์ “ไทยแลนด์ 4.0” ที่ทางรัฐบาลไทยกำหนดเอาไว้ จึงมีผู้ประกอบการด้านงานอุตสาหกรรมการผลิตของไทยร่วมรับฟังเป็นจำนวนมาก
น่าเสียดายที่กิจกรรม “จับรางวัล (Lucky Draw)” ไม่ประสบผลสำเร็จอย่างที่คาดหวัง เนื่องจากมีผู้ลงทะเบียนไม่ถึงเกณฑ์กำหนด แม้จะมีการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับกิจกรรมดังกล่าวทาง facebook ตั้งแต่ก่อนเริ่มงานจนถึงระหว่างช่วงเวลาจัดงาน ในช่วงระยะเวลาของการจัดงาน มีผู้เข้าร่วมงานบางท่านส่งข้อความเข้ามาว่า “ไม่รู้ว่าต้องสมัครร่วมสนุกจับรางวัลอย่างไร” ซึ่งรายละเอียดการ log in และวิธีการต่าง ๆ แจ้งอยู่ใน facebook แล้ว ทว่าช่วงเวลาของการลงบทความดังกล่าวอาจล่าช้าเกินไป จนส่งผลให้การดำเนินกิจกรรมไม่ลื่นไหล อันที่จริงเรารู้มาก่อนว่าคนไทยชื่นชอบกิจกรรมเล่นเกมจับรางวัล จึงค่อนข้างคาดหวังไว้มากพอควร คิดแล้วก็อดเสียดายไม่ได้ที่ผลลัพธ์ไม่เป็นตามหวัง ซึ่งเราจะนำข้อผิดพลาดครั้งนี้มาพิจารณาปรับปรุงสำหรับงานครั้งต่อไป
เร่งทำความเข้าใจเกี่ยวกับพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA)
อีกข้อหนึ่งที่ต้องยอมรับคือ พวกเราคำนวณผิดพลาดในเรื่องสิทธิ์การเข้าถึงภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เมื่อพิจารณาตัวเลขโซน JRIT จะเห็นได้ว่าการยินยอมเปิดเผยข้อมูลแก่บูธผู้ประกอบการและ Webinar มีอัตราส่วนต่ำกว่า 50% จริงอยู่ว่าครั้งนี้เป็นกิจกรรมลักษณะ B2B แต่กระนั้นก็ตามในประเทศญี่ปุ่นเองยังไม่เคยปรากฏอัตราส่วนต่ำเท่านี้ ซึ่งทางเราและคณะผู้จัดงาน CEBIT จำเป็นต้องหารือกันเพื่อค้นหาสาเหตุเกี่ยวกับเรื่องนี้ ทว่าจากการวิเคราะห์ของพวกเรา เป็นไปได้ว่าสาเหตุส่วนหนึ่งอาจมาจากการไม่เข้าใจเกี่ยวกับข้อปฏิบัติใน พรบ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอย่างถ่องแท้ ซึ่งพรบ. ฉบับนี้จะประกาศใช้เต็มรูปแบบในเดือน พ.ค. ปีหน้า และเดาได้ไม่ยากว่านับจากนี้คนไทยคุ้นหูกับคีย์เวิร์ดคำว่า พรบ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มากขึ้น ขณะเดียวกันก็น่าจะมีคนอีกไม่น้อยที่ยังข้องใจในเนื้อหาเชิงรูปธรรม ไม่รู้ว่า พรบ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมีไว้เพื่ออะไร? สิทธิ์การเข้าถึงข้อมูลหรือโปรแกรมมีผลดี และผลเสียอย่างไร? (ผลดีกับผลเสียมีมากน้อยเพียงใด) พูดอีกอย่างหนึ่งคือ เคยได้ยินคำว่า พรบ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล แต่ไม่รู้ว่าคืออะไรจึงเกิดเป็นความรู้สึกต่อต้านและตั้งป้อม “ปฏิเสธ” ไว้ก่อนตามมา ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นโจทย์ปัญหาที่พวกเราในฐานะผู้ให้บริการการตลาดแบบ B2B ต้องเร่งแก้ไข
* บทความที่เกี่ยวข้อง “พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) คืออะไร แบรนด์และผู้บริโภคต้องปรับตัวและรู้อะไรบ้าง”
รูปแบบการตลาด B2B ในยุคชีวิตวิถีใหม่
การจัดงาน JRIT รูปแบบออนไลน์ถึง 2 ครั้งในงาน Japan Recommend IT Online ที่จัดขึ้นในช่วงฤดูร้อนปีนี้ และงาน CEBIT ASEAN Thailand ที่จัดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ช่วยให้เราตระหนักถึงประโยชน์ของการจัดกิจกรรมแบบออนไลน์ และการจัดกิจกรรมแบบออฟไลน์ เพื่อการตลาด B2B ในยุคชีวิตวิถีใหม่ ตัวอย่างเช่น การจัดกิจกรรมรูปแบบออนไลน์ช่วยให้การศึกษาข้อมูลจากเอกสาร และการสนทนาโต้ตอบเพื่อเจรจาการค้ากลายเป็นเรื่องสะดวกสบาย ขณะที่การจัดกิจกรรมรูปแบบออฟไลน์ มีข้อดีด้านการนำเสนอเสน่ห์ของสินค้า และบริการในเชิงลึก เชื่อมโยงสู่การติดตามพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายได้ง่ายกว่า
เราจะนำข้อผิดพลาดต่าง ๆ มาปรับปรุงแก้ไข และสร้างสรรค์พื้นที่สำหรับถ่ายทอดเทคโนโลยี IT Solution ชั้นเลิศของญี่ปุ่น สู่ผู้ประกอบการชาวไทยทุกคนต่อไป
สุดท้ายนี้ ขอแสดงความขอบคุณผู้สนับสนุน ผู้ร่วมออกบูธ ผู้ร่วมงาน CEBIT ASEAN Thailand ครั้งนี้เป็นอย่างสูง ขอบพระคุณครับ