“Digital Economy in the future of Thailand” <Session-1>
“JRIT ICHI” โปรเจกต์ซึ่งมีเป้าหมายสำคัญเป็นการ “กระตุ้น Digital Transformation ของประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียนด้วย IT Solution จากญี่ปุ่น” ได้ฤกษ์เปิดตัวแล้วเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคมที่ผ่านมา
“The Marketplace to create your success with Japan IT Solutions” คือ สโลแกนของ JRIT ICHI ซึ่งตั้งเป้าสู่การเป็นสื่อออนไลน์ เพื่อนำเสนอบทความอันเปี่ยมด้วยเนื้อหาสาระใหม่ล่าสุดเกี่ยวกับ Digital Transformation สำหรับผู้ประกอบการในประเทศไทย ที่กำลังวางแผนปรับเปลี่ยนการทำงานสู่ระบบดิจิทัล รวมถึงเปิดให้ผู้สนใจเข้ามาค้นหาแนวคิดใหม่ ๆ ซึ่งอาจเป็นกุญแจสำคัญสำหรับการพัฒนาปรับเปลี่ยนรูปแบบองค์กร และสอบถามข้อมูลต่าง ๆ ได้จากทุกที่ทุกเวลา
เนื่องในโอกาสเปิดตัว JRIT ICHI ทางทีมงานได้จัดกิจกรรม “JRIT ICHI Opening Event 2021” ขึ้นในวันที่ 19 พฤษภาคม โดยมีผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมมากกว่า 200 คน ซึ่งนั่นเป็นเครื่องบ่งชี้ให้เห็นว่า ปัจจุบัน Digital Transformation กำลังได้รับความสนใจมากขึ้นในประเทศไทย
ภายในกิจกรรม JRIT ICHI Opening Event 2021 แบ่งหัวข้อการสัมนนาออกเป็น 3 หัวข้อต่อไปนี้
อันดับแรกสุด เราขอสรุปย่อเนื้อหาจากการสัมมนาในหัวข้อ “Digital economy in the future of Thailand“ ซึ่งทางเราได้รับเกียรติจาก ดร.มนู อรดีดลเชษฐ์ ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (Advisor to the Permanent Secretary of the Ministry of Digital Economy and Society) มาร่วมบรรยาย ดังนี้
<Session-1>
“Digital economy in the future of Thailand”
Dr. Manoo Ordeedolchest
Advisor to the Permanent Secretary of the Ministry of Digital Economy and Society
โควิด-19 กลายเป็นปัจจัยส่งผลให้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาทในสังคมอย่างมาก ตัวอย่างเช่น การใช้แอปพลิเคชันบนอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ซึ่งสามารถใช้จองและติดตามการฉีดวัคซีน หรือแม้แต่การใช้แอปพลิเคชันสั่งซื้อสินค้าและเลือกรับบริการจัดสั่งถึงที่เองก็มีเพิ่มมากขึ้น ซึ่งนั่นหมายความว่า การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีดิจิทัลเริ่มส่งอิทธิพลต่อพฤติกรรมของผู้คน รวมถึงเศรษฐกิจ
รัฐบาลไทยเองก็เริ่มเล็งเห็นถึงความสำคัญของการผลักดันนโยบายประเทศไทย 4.0 ที่เรียกว่าเศรษฐกิจดิจิทัลหรือสังคมดิจิทัล ซึ่งเป็นการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้เพื่อพัฒนาชาติ ในยุคนโยบายประเทศไทย 4.0 เราจะไม่มุ่งเน้นแค่การเพิ่มคุณค่า แต่จะมองลึกลงไปถึงความสำคัญของการสร้างคุณค่าด้วย พูดอีกอย่างหนึ่งคือต้องปรับเปลี่ยนแนวคิดที่เคยมีแต่เดิม นำดิจิทัลเทคโนโลนยีเข้ามาใช้ สร้างสินค้าและบริการที่มีคุณค่ามากกว่าที่เคยเป็น ด้วยเหตุนี้การสร้างสรรค์และการปฏิวัติจึงเป็นสิ่งที่จะขาดเสียไม่ได้ การปลูกฝังให้คนไทยมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของเทคโนโลยีดิจิทัล จะเชื่อมโยงสู่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้ดียิ่งขึ้น
ในภาคปฏิบัติของดิจิทัลไทยแลนด์ตามนโยบายประเทศไทย 4.0 ประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์สำคัญดังต่อไปนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 1 : จัดเตรียมความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล
จัดสรรระบบการสื่อสารโทรคมนาคมทุกภาคส่วนในประเทศไทยให้ทัดเทียมนานาชาติ อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่มีทั้งความรวดเร็วและความน่าเชื่อถือในการใช้งาน รวมถึงระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านการติดต่อสื่อสารที่หลากหลาย ปลอดภัยและราคาสมเหตุสมผล
ยุทธศาสตร์ที่ 2 : ให้ความช่วยเหลือสนับสนุนระดับภาครัฐเพื่อส่งเสริมนวัตกรรมดิจิทัล
ตระเตรียมแผนนโยบายต่าง ๆ เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน สำหรับธุรกิจที่เข้าสู่แขนงงานด้านเทคโนโลยีดิจิทัล
ยุทธศาสตร์ที่ 3 : สร้างสิ่งแวดล้อมเพื่อให้การใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลให้เป็นไปอย่างสร้างสรรค์และปลอดภัย
มอบโอกาสในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิตของคนไทย เพื่อให้ทุกคนเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างเท่าเทียม
ยุทธศาสตร์ที่ 4 : ปรับเปลี่ยนสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล
ปรับเปลี่ยนการทำงานบริการประชาชนให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัล
ยุทธศาสตร์ที่ 5 : เพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจด้านเทคโนโลยีดิจิทัล
ปลูกฝังความรู้พื้นฐานเพื่อนำสู่การปรับปรุงคุณภาพชีวิตประชาชนภายใต้เศรษฐกิจดิจิทัล
ยุทธศาสตร์ที่ 6 : ตระเตรียมกฎหมายไซเบอร์เพื่อก้าวสู่สังคมดิจิทัล
ผลักดันพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายอีคอมเมิร์ซ และเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
กลยุทธ์เปลี่ยนสู่เศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทย แบ่งออกเป็น 4 ระยะดังนี้
ระยะที่ 1 : พัฒนาและจัดวางระบบบรอดแบรนด์ทั่วประเทศ เพื่อให้คนไทยทุกคนเข้าถึงอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง
ระยะที่ 2 (5 ปี) : กระตุ้นระบบงานบริการสาธารณะตามการพัฒนาเข้าสู่ยุครัฐบาลดิจิทัล รวมถึงกระตุ้นการการเปลี่ยนสู่ดิจิทัลในกลุ่มธุรกิจต่าง ๆ
ระยะที่ 3 (10 ปี) : ผลักดันเศรษฐกิจทุกด้านของไทยให้เข้าสู่การเป็นดิจิทัล ส่งเสริมระบบด้านต่าง ๆ อาทิ ห่วงโซ่อุปทานหรือซัปพลายเชนให้มีความปลอดภัย โปร่งใส เพื่อส่งเสริมให้เกิดการลงทุนภายในประเทศเพิ่มมากขึ้น
ระยะที่ 4 (20 ปี) : ประเทศไทยก้าวขึ้นเป็นศูนย์กลางเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมดิจิทัลในภูมิภาคอาเซียน
แม้จะเกินกรอบเวลาที่กำหนดไว้อยู่บ้าง แต่ก็ต้องยอมรับว่าการบรรยายของดร.มนู อรดีดลเชษฐ์ อัดแน่นด้วยความรู้ที่น่าสนใจ อีกทั้งยังเป็นเครื่องชี้นำให้มองเห็นภาพชัดเจนขึ้น ว่านโยบายประเทศไทย 4.0 ภายใต้การผลักดันของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมประเทศไทย จะมีส่วนส่งเสริมการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจของภูมิภาคอาเซียนในอนาคตอย่างแน่นอน
ลำดับต่อไป ขอพูดถึงเนื้อหาในหัวข้อ “Digital Transformation will change your business” ซึ่งทางเราได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.ธนชาติ นุ่มนนท์ ผู้อำนวยการสถาบัน IMC เข้าร่วมบรรยายใน Session-2 กันต่อครับ