2021.07.02

ICHI

การจัดการผลิตและ IoT พื้นฐาน – กรณีศึกษาในอุตสาหกรรมยางรถยนต์

การจัดการผลิตและ IoT พื้นฐาน

<กรณีศึกษาในอุตสาหกรรมยางรถยนต์>

อมรนาถ แป้นสุข ผู้จัดการทั่วไปของบริษัท ISID South East Asia (Thailand) นำวีดีโอเรื่องการผลิตยางรถยนต์มาให้ดูเพื่อจะทำให้ผู้ประกอบการที่จะเข้าสู่ระบบ Smart Manufacturing  หรือระบบ IoT 5G และอื่นๆ จะได้เห็นว่า ISID ทำการติดตั้งระบบ Production Management และ IoT เบื้องต้นให้กับโรงงานที่ผลิตยางรถยนต์ในประเทศไทยอย่างไรบ้าง

ISID เป็นบริษัทญี่ปุ่น ตั้งมาแล้ว 46 ปี มีพนักงานประมาณ 3000 คน ดำเนินธุรกิจใน 8 ประเทศทั่วโลก ธุรกิจหลักคือ ธุรกิจทางด้านไอที วิศวกรรม และ System Integrator โดยบริษัทในประเทศไทยก่อตั้งขึ้นในปี 2005 มีพนักงานประมาณ 50 คน มีลูกค้ามากกว่า 100 ราย หนึ่งในนั้นคือบริษัทที่ผลิตยางรถยนต์ ISID ทำธุรกิจ Smart Manufacturing Solution มีตั้งแต่ IoT ในระดับการผลิต การจัดการการผลิต และ การบริหารจัดการข้อมูลซึ่งอาจจะเป็นระบบ BI หรือ Dashboard ต่างๆ  ISID สามารถทำการติดตั้งและให้คำปรึกษากับผู้ประกอบการที่สนใจที่จะเข้าสู่การเป็น Smart Manufacturing ได้

จากกรณีศึกษาที่ได้ทำร่วมกับบริษัทผลิตยางรถยนต์ในประเทศไทย การจัดการการผลิตควบคู่ไปกับการติดตั้งระบบ IoT เบื้องต้น มีขั้นตอนง่ายๆอยู่ 4 ขั้นตอน ดังนี้

  1. เก็บข้อมูลจากเครื่องจักร เช่น ชั่วโมงการทำงานของเครื่องจักร หรือแรงดัน อุณหภูมิ และนำเข้ามาเก็บในระบบดาต้าเบสในฐานข้อมูลของ Manufacturing เราสามารถเก็บข้อมูลจากระบบ PLC OPC RTU ได้จากหลายเครื่องจักร และใช้ Kepware ในการดึงข้อมูลจากเครื่องจักรขึ้นมาเก็บไว้ในดาต้าเบสซึ่งสามารถเชื่อมต่อได้หลากหลายโปรโตคอล ทำให้ไม่ต้องกังวลเรื่องยี่ห้อเครื่องจักร

2. การเก็บข้อมูลของคุณภาพ หรือข้อมูลอื่นๆที่จำเป็นต้องใช้ในการป้อนข้อมูลโดยใช้มนุษย์นั้นเป็นข้อมูลที่เครื่องจักรไม่มีจึงต้องใช้บุคลากรในการเก็บข้อมูล เรียกว่าระบบ i-Reporter ซึ่งให้พนักงานบันทึกข้อมูลเหมือนดิจิทัลฟอร์มลงไป โดยใช้ได้ทั้งบนมือถือ ไอแพด พีซี ข้อดีคือลดความผิดพลาดในการอ่านข้อมูลจากลายมือ และสามารถเซ็นชื่อกำกับได้ หลังจากนำข้อมูลทั้งสองส่วนนี้มาผสมผสานกันแล้วส่งต่อข้อมูลเพื่อไปทำการคำนวณ

3.ส่งข้อมูลทั้งหมดไปยังระบบ Planning และ Scheduling เพื่อให้ระบบคำนวณการวางแผนการผลิตได้อย่างถูกต้อง โดย Planning คือการวางแผนงานระยะยาว ส่วน Scheduling คือการวางแผนการผลิตรายวัน

4.เมื่อคำนวณข้อมูลทั้งหมดแล้วก็จะส่งต่อไปยังฝ่ายปฏิบัติงาน เพื่อให้ทราบถึงข้อมูลที่ต้องทำการผลิต อาทิ ประเภทหรือจำนวนสินค้า ในขณะเดียวกับก็ส่งข้อมูลไปแสดงผลบนแดชบอร์ดเพื่อให้ผู้บริหารสามารถดูงานได้ ว่าต้องผลิตอะไร หรือว่าผลิตอะไรไปแล้วกี่ชิ้นในแดชบอร์ดหรือโมชั่นบอร์ด ข้อดีคือ นอกเหนือจากการแสดงผลตารางการผลิตแล้ว ยังสามารถรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลอื่นๆ เช่น ฐานข้อมูล CRM ใส่ลงบนหน้าจอได้เลย และยังทำอินเตอร์แอคทีฟกับผู้ใช้งานได้เลย เช่น การสั่งปิดกล้องวงจรปิดในจุดต่างๆ

ในการจัดการการผลิตยางรถยนต์จะมีขั้นตอนต่างๆ ดังที่กล่าวมา โดยใช้เวลาเพียง 3-4 เดือน ซึ่งง่ายและยังเป็นจุดเริ่มต้นสำหรับ Smart Manufacturing

※ รับชม JRIT ICHI” ได้ที่นี่