2023.06.12

ICHI

ความเป็นไปได้ในอนาคตของสตาร์ทอัพไทย

ในภูมิภาคอาเซียนมีสตาร์ทอัพที่ประสบความสำเร็จมากมาย เช่น Grab (สิงคโปร์) Gojek (อินโดนีเซีย) และ Shopee (สิงคโปร์)
ในทำนองเดียวกัน ระบบนิเวศของสตาร์ทอัพในประเทศไทยเองก็กำลังเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว และคาดว่าจะมีการพัฒนามากขึ้นไปอีกในอนาคต ยกตัวอย่างเช่น สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศไทย กำลังพัฒนามาตรการและการส่งเสริมต่าง ๆ ในฐานะองค์กรที่สนับสนุนระบบนิเวศของสตาร์ทอัพในประเทศไทย รัฐบาลตั้งเป้าที่จะให้ประเทศไทยเป็น ‘ดิจิทัลฮับ’ และได้มีการออกนโยบายและโครงการเพื่อสนับสนุนสตาร์ทอัพ ในระดับเอกชนเอง บริษัท Techsauce Media ไม่เพียงแต่เผยแพร่เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับสตาร์ทอัพและเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเป็นสื่อสนับสนุนสตาร์ทอัพในไทยและอาเซียนเท่านั้น แต่ยังจัดงาน Techsauce Global Summit (TSGS) เพื่อสร้างชุมชนของเหล่าสตาร์ทอัพขึ้นมา
ครั้งนี้จึงอยากนำเสนอถึงความเป็นไปได้ของสตาร์ทอัพไทยที่ได้รับความสนใจในช่วงไม่กี่ปีมานี้

การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล

รัฐบาลไทยกำลังเดินหน้าในการเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานในเศรษฐกิจดิจิทัลตามยุทธศาสตร์ชาติที่เรียกว่า “Thailand 4.0” โดยการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เช่น อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง บริการคลาวด์ บิ๊กดาต้า AI และ IoT ซึ่งเป็นการสร้างสภาพแวดล้อมที่มีส่วนช่วยให้บริษัทสตาร์ตอัพเกิดการพัฒนาได้ง่าย ตัวอย่างเช่น สตาร์ทอัพได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีและการลดความซับซ้อนของการขอวีซ่า เป็นต้น และสร้างแรงจูงใจให้นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศเข้ามาลงทุนในบริษัทสตาร์ทอัพของไทย

สภาพแวดล้อมการระดมทุนเอื้ออำนวย

สตาร์ทอัพไทยได้รับโอกาสในการระดมทุนมากมายหลากหลายช่องทาง เช่น โครงการระดมทุนที่นำโดยรัฐบาล การร่วมทุน (VCs) โครงการเร่งการเจริญเติบโตของธุรกิจที่มีอยู่ (Accelerators) นักลงทุนนางฟ้า (Angel Investor) การระดมทุนสาธารณะ (Crowdfunding) เป็นต้น และการลงทุนในสตาร์ทอัพมักจะลงทุนในกลุ่มบริษัทขนาดใหญ่ในประเทศไทยเป็นหลัก ซึ่งในปัจจุบันก็กำลังพัฒนาระบบเพื่อช่วยสนับสนุนสตาร์ตอัพเหล่านี้ต่อไป

ตลาดผู้บริโภคขนาดใหญ่

ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีประชากรประมาณ 70 ล้านคน และมีอัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตสูง ประเทศไทยจึงเป็นตลาดขนาดใหญ่ที่เป็นเป้าหมายของสตาร์ทอัพจำนวนมาก อีกทั้งตลาดผู้บริโภคไทยยังกลายเป็นตลาดที่มีความน่าสนใจสำหรับบริษัททั้งในและต่างประเทศเป็นอย่างมาก รวมไปถึงบริษัทสตาร์ทอัพเองก็ยังคงมองหาโอกาสในตลาดของประเทศไทยอยู่เช่นเดียวกัน

ความได้เปรียบทางภูมิศาสตร์

ประเทศไทยตั้งอยู่ในพื้นที่ศูนย์กลางของอาเซียน และตลาดอาเซียนมีประชากรมากกว่า 600 ล้านคน จึงทำให้มีโอกาสทางธุรกิจมากมาย อีกทั้งไทยยังเป็นคู่ค้าสำคัญของจีนและอินเดีย ทำให้สตาร์ทอัพไทยสามารถขยายธุรกิจไปยังตลาดเหล่านี้ได้อีกด้วย

ทรัพยากรบุคคลคุณภาพสูง

มหาวิทยาลัยในประเทศไทยหลายแห่งมีโปรแกรมและหลักสูตรสำหรับการเป็นผู้ประกอบการ ซึ่งนักศึกษาสามารถเรียนรู้การวางแผนธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการได้ ด้วยเหตุนี้จึงอาจกล่าวได้ว่าจิตวิญญาณแห่งการเป็นผู้ประกอบการของคนรุ่นใหม่ในประเทศไทยกำลังเติบใหญ่ สตาร์ทอัพไทยสามารถใช้บุคลากรที่มีความสามารถเหล่านี้เป็นตัวช่วยในการเร่งการเติบโตของธุรกิจได้

จากปัจจัยต่าง ๆ ข้างต้น ถือได้ว่าสตาร์ทอัพของไทยมีศักยภาพสูงมาก ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของตลาดอาเซียน และรัฐบาลก็ให้การสนับสนุนสตาร์ทอัพอย่างจริงจัง อีกทั้งโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลและทรัพยากรบุคคลก็พร้อมสรรพ ด้วยปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ ทำให้คาดการณ์ได้ว่าสตาร์ตอัพไทยจะพัฒนาต่อไปได้ในอนาคต

ครั้งถัดไปจะมานำเสนอถึง “ความท้าทายหลายประการที่สตาร์ทอัพในประเทศไทยต้องเผชิญ”

หากต้องการสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับสตาร์ทอัพไทย กรุณาติดต่อสอบถามเข้ามาที่“Get in touch” ตามรายละเอียดด้านล่าง