2023.06.19

ICHI

ความท้าทายที่สตาร์ทอัพไทยต้องเผชิญ

คราวที่แล้วมีการแนะนำถึง “ความเป็นไปได้ในอนาคตของสตาร์ทอัพไทย” ไปแล้ว ครั้งนี้จึงขอแนะนำเกี่ยวกับ “ความท้าทายที่สตาร์ทอัพไทยกำลังเผชิญ”

การระดมทุน

แม้ว่าสภาพแวดล้อมการระดมทุนจะดีขึ้นด้วยการสนับสนุนของรัฐบาลไทย แต่สตาร์ทอัพไทยจำนวนมากยังคงประสบปัญหาในการระดมทุนอยู่ แม้ว่าสตาร์ทอัพบางแห่งจะระดมทุนจากนักลงทุนต่างชาติ ที่พบได้บ่อยคือ บริษัทร่วมทุนไทย (VC) มีจำนวนนักลงทุนจำกัดเนื่องจากยังอยู่ในช่วงของการพัฒนาบริษัท หรือไม่ค่อยได้รับการอนุมัติเงินกู้จากธนาคาร นอกจากนี้ ตามรายงานปี 2020 ที่เผยแพร่โดยสมาคมไทยผู้ประกอบธุรกิจเงินร่วมทุน (Thai Venture Capital Association) ของประเทศไทยเปิดเผยว่า จำนวนรวมของการลงทุนโดยการร่วมทุนของประเทศไทยในปี 2020 อยู่ที่ 260 ล้านดอลลาร์เท่านั้น ซึ่ง 5 อันดับแรกของการลงทุนสตาร์ทอัพในไทย ได้แก่ อีคอมเมิร์ซ เทคโนโลยีอาหาร เทคโนโลยีการเงิน เทคโนโลยีสุขภาพ และโลจิสติกส์

ความไม่แน่นอนของสภาพแวดล้อมทางกฎหมาย

สภาพแวดล้อมทางกฎหมายของประเทศไทยยังคงอยู่ระหว่างการพัฒนา ส่งผลให้สตาร์ทอัพยากที่จะปฏิบัติตามขั้นตอนทางกฎหมายได้อย่างเคร่งครัด และเผชิญกับปัญหาทางกฎหมายและข้อบังคับจำนวนมาก อาทิ การเริ่มต้นธุรกิจ การขอใบอนุญาต หรือการชำระภาษี เป็นต้น อีกทั้งขั้นตอนทางกฎหมายยังมีความซับซ้อนและใช้เวลานาน รัฐบาลได้มีการนำนโยบายบางอย่างเข้ามาใช้เพื่อช่วยเหลือธุรกิจสตาร์ทอัพ แต่ดูเหมือนว่ายังคงมีช่องโหว่ที่ยังต้องพัฒนาอยู่

โครงสร้างพื้นฐานไม่เพียงพอ

ในบางพื้นที่ของประเทศไทยไม่มีโครงสร้างพื้นฐานเพียงพอต่อการจัดทำบริษัทสตาร์ทอัพ และบางครั้งอาจไม่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงหรือใช้งานระบบการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ได้ ทำให้สตาร์ทอัพไทยยากจะสร้างฐานในการสร้างสัมพันธ์กับลูกค้าได้

การขาดแคลนทรัพยากรมนุษย์

ว่ากันว่าระบบการศึกษาของประเทศไทยอยู่ในช่วงกำลังพัฒนา และแนวทางการศึกษาที่เรียกว่าสะเต็มศึกษา ซึ่งเป็นแนวทางการศึกษาที่ได้บูรณาการความรู้ระหว่างวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์เข้าด้วยกันนั้นยังไม่เพียงพอ ด้วยเหตุนี้ สตาร์ทอัพไทยจึงหาบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถที่เหมาะสมได้ยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคลากรที่มีทักษะเฉพาะทางนั้นหาได้ยากยิ่ง จึงพบเห็นกรณีที่บริษัทสตาร์ทอัพรับสมัครบุคลากรดังกล่าวมาจากต่างประเทศ

การแข่งขันที่เข้มข้นขึ้น

ตลาดสตาร์ทอัพของไทยขยายตัวอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้สตาร์ทอัพต้องเผชิญกับการแข่งขันจากคู่แข่งรายใหม่ และจำเป็นต้องพัฒนากลยุทธ์ทางธุรกิจที่ดีเพื่อรักษาสถานะของตนในตลาด และเพื่อสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งจึงจำเป็นต้องสร้างความร่วมมือกับผู้นำในอุตสาหกรรมและสตาร์ทอัพรายอื่น ๆ ในด้านเทคโนโลยีและการตลาด

ความแตกต่างของวัฒนธรรมทางธุรกิจ

วัฒนธรรมทางธุรกิจของไทยมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และในบางครั้งอาจเป็นเรื่องยากสำหรับชาวต่างชาติที่จะเข้าใจถึงวิธีการดำเนินธุรกิจและความสัมพันธ์กับพันธมิตรทางธุรกิจ ตัวอย่างเช่น ประเทศไทยเป็นวัฒนธรรมที่อิงบริบทสูง (High Context Culture) การเข้าใจบริบทและภูมิหลังของเรื่องราวต่าง ๆ เป็นสิ่งที่สำคัญมาก ดังนั้นในการเจรจาธุรกิจจึงจำเป็นต้องตีความหมายที่ซ่อนอยู่ในคำพูดหรือนัยยะทางภาษาให้ได้

รัฐบาลไทยและบริษัทเอกชนต่างร่วมมือกันหาทางแก้ไขปัญหาเหล่านี้ แต่สภาพแวดล้อมของสตาร์ทอัพในประเทศไทยยังอยู่ในขั้นตอนของการพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สตาร์ทอัพจำนวนมากประสบปัญหาโดยเฉพาะด้านการระดมทุนและรับเงินลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติ ดังนั้นก่อนอื่นต้องปรับปรุงและพัฒนาสภาพแวดล้อมการลงทุนในประเทศไทยเสียก่อน

หากต้องการสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับสตาร์ทอัพไทย กรุณาติดต่อสอบถามเข้ามาที่ “Get in touch” ตามรายละเอียดด้านล่าง